การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
13 หน้าที่การงาน เป็นต้น (ส่วนวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม , 2554) ประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลจากกระแสโลกาภิวัตน์เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เดิมประเทศไทยดำเนินการบริหารประเทศแบบอำนาจนิยม และชาตินิยม (ในบางช่วง) แต่ในสมัยของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้บริหารประเทศตามแนวคิดของกระแสโลกาภิวัตน์และเชื่อมั่นว่าจะ สามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศไทยอย่างชาติตะวันตก ประเทศไทยมีการเปิดเสรี ทางการค้าอย่างเต็มที่ รัฐลดบทบาทลงโดยเปลี่ยนมาให้เอกชน และบรรษัทข้ามชาติ เข้ามาดำเนิน กิจการต่างๆ แทนรัฐอย่างอิสระเสรี ส่งเสริมมาตรการที่สร้างบรรยากาศในการลงทุนแต่ละเลยการ ดูแลกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ออกกฎหมายจำกัดสิทธิในการรวมตัวของคนงานและมีการปราบปรามอย่าง เข้มงวด จนถึงในสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รสช.) เรื่อยมาจนปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้นำ ประเทศท่านใดที่มีมาตรการในการดูแลกลุ่มผู้ใช้แรงงานและขบวนการแรงงานงานอย่างจริงจัง ปัจจุบันแรงงานไทยและขบวนการแรงงานถูกกดขี่จากกระแสโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ ตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 20 จนถึงศตวรรษที่ 21 จากรูปแบบการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นการจ้างงานแบบยืดหยุ่น จ้างงานแบบเหมาช่วง เหมาค่าแรง และเกษตรพันธสัญญา ความต้องการค่าแรงถูกๆ ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีกฎหมายรองรับการรวมตัวต่อรองทั้งสิ้น ถ้าไม่ยอมรับค่าแรงที่ต่ำก็ไม่มีงานทำ ทำให้แรงงานบาง คนยอมทำงานต่ำกว่าระดับ ได้ค่าแรงถูก และไม่มีสวัสดิการ (ธัญลักษณ์ รุ้งแสงจันทร์, 2559) เห็นได้ว่า จากผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อขบวนการแรงงานไทย ทำให้รูปแบบ การจ้างแรงงานของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์เข้ามาในประเทศ ผลที่เกิดขึ้นต่อแรงงานและการจ้างงานภายในประเทศอย่างเห็นได้ชัดคือ รูปแบบการจ้างงานแบบ ประจำเปลี่ยนเป็นการจ้างที่มีความยืดหยุ่น จากการจ้างประจำเริ่มปรับเปลี่ยนเป็นการจ้างแบบ ชั่วคราว จ้างเหมา เพื่อลดต้นทุนที่เกิดขึ้นกับเจ้าของกิจการหรือผู้ว่าจ้าง นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการทำงาน การจ้างผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะจึงมีบทบาทมากขึ้น ทำให้กลุ่มแรงงานที่ไม่ต้องใช้ ฝีมือถูกผลักออกจากแรงงานในระบบกลายเป็นแรงงานนอกระบบ 2.2 แรงงานนอกระบบกลุ่มผู้ประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอย เมื่อได้ยินคำว่าแรงงานนอกระบบ หลายคนอาจจะนึกถึงแรงงานที่ผิดกฎหมาย หรือแรงงานใน กิจกรรมขนาดเล็ก ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่าแรงงานนอกระบบหมายถึงกลุ่มแรงงาน ประเภทใด และประเด็นที่จะพูดถึงแรงงานนอกระบบนั้นมีวัตถุประสงค์ใด แม้กระทั่งความหมายของ แรงงานนอกระบบที่ต่างหน่วยงานย่อมมีความหมายที่แตกต่างเช่นกัน โดยในที่นี้จะกล่าวถึงแรงงาน นอกระบบในฐานะแรงงานที่ขาดความคุ้มครองและไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานทางสังคมได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3