การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
14 2.2.1 ความหมายของแรงงานนนอกระบบ แรงงานนอกระบบ หากจะกล่าวให้ครอบคลุมแบบระบุอาชีพคงสามารถทำได้ยาก เนื่องจากสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิต ล้วนมีบทบาทในการประกอบอาชีพ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมี อาชีพที่แตกต่างหลากหลาย อย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้ให้ความหมายหรือคำนิยามที่แตกต่างกัน ในเรื่อง แนวคิดและมุมมอง ซึ่งความหมายที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบ มีดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ไม่มีการให้ความหมายของแรงงาน นอกระบบอย่างชัดเจน แต่ได้ให้ความหมายของ “แรงงาน” คือ คนงานผู้ใช้แรงในการทำงาน (เช่น การพัฒนาชนบทต้องอาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม) ประชากรใ นวัย ทำงาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และ ผู้ประกอบการเพื่อหากำไร แรงที่ใช้ในการทำงาน (เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของชาวบ้าน ความสามารถในการทำงานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจการที่คนงานทำในการผลิตเศรษฐทรัพย์ ) แรงงานนอกระบบ (Informal Workers) ตามความหมายขององค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ (International Labour Organization : ILO) หมายถึง แรงงานที่อยู่ในการจ้างงานในภาค เศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (informal sector) ซึ่งมีลักษณะเป็นกิจการขนาดเล็ก จัดตั้งได้ง่าย มี ลักษณะเป็นธุรกิจในครัวเรือน มักใช้วัตถุดิบในประเทศมีการใช้แรงงานเป็นหลัก และมีการดัดแปลง เทคโนโลยีง่ายๆ มาใช้ เป็นแรงงานอิสระที่ทำกิจกรรมเพื่อความอยู่รอด เช่น หาบเร่ริมถนน คนขัด รองเท้า คนเก็บขยะ คนเก็บเศษกระดาษและโลหะ แรงงานรับใช้ในบ้านที่รับค่าจ้างจากครัวเรือน ผู้รับงานไปทำที่บ้าน และคนงานในโรงงานที่ไม่ขึ้นทะเบียน ซึ่งเป็นลูกจ้างแอบแฝง (disguised wage workers) ในเครือข่ายการผลิตและเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระในสถานประกอบการขนาดเล็กมากซึ่ง ทำงานด้วยตนเอง หรือมีสมาชิกในครอบครัว หรือมีผู้ฝึกงานหรือมีลูกจ้างช่วย (สำนักงานสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่, 2561) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นิยามความหมายของแรงงานนอกระบบ ว่าเป็นผู้ที่ทำงานหรือก่อให้เกิดกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจที่ถูกกฎหมาย แต่เป็นแรงงานที่ไม่ได้รับ ความคุ้มครองจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือมีกฎหมายคุ้มครองแต่ยังไม่ได้รับสิทธิหรือการดูแล เท่าที่ควร ทั้งนี้ รวมถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระและผู้รับค่าจ้าง ทั้งในสถานประกอบการที่เป็นหลักแหล่ง และสถานประกอบการที่ไม่มีหลักแหล่งแน่นอน ผู้รับจ้างทั่วไป ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้รับงานเป็นชิ้น ตลอดจนผู้รับงานเหมาช่วง (ตะวัน วรรณรัตน์, 2551) สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นิยามความหมายของแรงงาน นอกระบบ หมายถึง ผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครองและหลักประกันทางสังคมที่ส่วนใหญ่มักจะถูก เอารัดเอาเปรียบจากการจ้างงานที่ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน ประกอบด้วยเกษตรกรรายย่อยและผู้ทำงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3