การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

15 รับจ้างในภาคเกษตรกรรม ผู้ทำงานในกิจการขนาดเล็กในภาคการผลิตที่ไม่มีลูกจ้างหรือรับงานมาทำ ที่บ้าน และผู้ประกอบอาชีพอิสระในภาคบริการ โดยจำแนกแรงงานนอกระบบ เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มแรงงานนอกระบบภาคเกษตรกรรม หมายถึง เกษตรกรรายย่อยที่ประกอบอาชีพ ในที่ดินของตนเองหรือที่ดินเช่า ในทะเลหรือแหล่งน้ำสาธารณะ โดยไม่มีลูกจ้าง ผู้รับจ้างทำการเกษตร ในสาขาต่างๆ ได้แก่ สาขาเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ เลี้ยงสัตว์ หรือทำนาเกลือ และเกษตรกรพันธะ สัญญา ซึ่งหมายถึงเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าด้านการเกษตรให้กับบุคคล หรือนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ซื้อ โดยมี การตกลงล่วงหน้าเกี่ยวกับเงื่อนไขในการผลิตและการรับซื้อ อาทิ อุปกรณ์การผลิต วัตถุดิบ คุณภาพ มาตรฐานการผลิต ราคา และเวลารับซื้อ 2) แรงงานนอกระบบภาคการผลิต หมายถึง ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งทำงานผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมหรือแปรรูปสิ่งของให้กับผู้ว่าจ้างตามเงื่อนไขที่ผู้ว่าจ้างกำหนดด้วยตนเอง หรือ ด้วยความช่วยเหลือของสมาชิกในครัวเรือน หรือกลุ่มที่มีการบริหารจัดการและแบ่งปันผลประโยชน์ ระหว่างสมาชิกของกลุ่ม โดยรับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากผู้ว่าจ้าง รวมถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระซึ่ง ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อขายด้วยตนเอง หรือด้วยความช่วยเหลือของสมาชิกในครัวเรือน หรือกลุ่มที่มีการ บริหารจัดการและแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างสมาชิกของกลุ่ม 3) แรงงานนอกระบบภาคบริการ หมายถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระในกลุ่มอาชีพที่เป็น ส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจในสาขาการค้า เช่น อาชีพค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่มีลูกจ้าง สาขาการ ให้บริการ เช่น อาชีพแม่บ้าน ทำความสะอาดในครัวเรือน ขับรถรับจ้าง เก็บขยะ และรับจ้างในงาน ด้านบริการทั่วไป ที่ไม่ใช้ทักษะวิชาชีพชั้นสูงและมีค่าตอบแทนน้อย (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551) นอกจากนี้ แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2555 - 2559 ให้นิยาม “แรงงานนอกระบบ” หมายถึง ผู้มีงานทำที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมายและไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม, 2562) จากคำจัดกัดความของ “แรงงานนอกระบบ” ดังกล่าวข้างต้น พอสรุปได้ ว่า ผู้ประกอบอาชีพอิสระ มีลักษณะการจ้างงานที่ไม่แน่นอน ไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย แรงงาน จึงทำให้แรงงานนอกระบบไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่เป็นหลักประกันทางสังคมใน การดำรงชีวิต อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าการให้ความหมายของแรงงานนอกระบบ มีความแตกต่างกันอยู่ใน รายละเอียดด้วย แม้แต่ในหน่วยงานราชการเองก็ยังมีนิยามของคำว่าแรงงานนอกระบบที่แตกต่างกัน (ตะวัน วรรณรัตน์, 2557) กล่าวว่าการที่ยังไม่มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าภาพในการกำหนดคำจำกัดความ ของแรงงานนอกระบบที่สามารถอ้างอิงเป็นนิยามกลางให้สามารถใช้ร่วมกันนั้น เนื่องจากแรงงานนอก ระบบเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ดังนั้นจึงยังไม่สามารถให้ความหมายของแรงงานนอกระบบที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3