การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

17 กำลังที่จะสามารถซื้อประกันความเสี่ยงภัยต่างๆ จากเอกชนได้ แต่ปัญหาคือ แรงงานนอกระบบใน กลุ่มผู้ยากจน ที่ประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอย มีเพียงรายได้เล็กน้อยจากการหาสินค้าท้องถิ่นมา จำหน่าย แรงงานนอกระบบกลุ่มนี้ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากความไม่มั่นคงใน ชีวิตในด้านต่างๆ เช่น กรณีทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และการว่างงาน ทางผู้วิจัยขอ ยกตัวอย่างความไม่มั่นคงในชีวิต กรณีการว่างงานซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ คือ ทำให้เกิด ความไม่มั่นคงทางรายได้ เมื่อรายได้ขาดหายจึงส่งผลต่อสมาชิกในครอบครัวตามมา ความไม่มั่นคง ทางรายได้นั้นมีปัจจัยมาจากหลายๆ ประการ เช่นการขาดทุนทรัพย์ในการต่อยอดอาชีพ การขาด โอกาสในการค้าขาย การขาดโอกาสในการต่อรองเพื่อค้าขายในปริมาณที่มากขึ้น หรือแม้กระทั่ง สภาวะเศรษฐกิจก็ส่งผลกระทบต่อการค้าขายเช่นเดียวกัน นอกจากความไม่มั่นคงในชีวิตตามที่กล่าว มาแล้วนั้น แรงงานกลุ่มหาบเร่ แผงลอย ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานมารองรับ ความเสี่ยงจาก การเดินทางเพื่อมาขายของโดยเฉพาะในกลุ่มหาบเร่ ที่ต้องตระเวนเดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งอาจ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ หรือการกระทำความผิดกฎหมายโดยไม่ตั้งใจขึ้นได้ เช่น ไปขายของบนทางเท้า หรือพื้นที่ที่ไม่อนุญาตให้ค้าขาย (ปิยพัชร์ ภักดี และจิดาภา พรยิ่ง, 2563) แรงงานนอกระบบ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอย นั้น กล่าวได้ว่ามีเพียงสิทธิกรณี เจ็บป่วย และคลอดบุตร ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) เช่นเดียวกับแรงงานนอกระบบ กลุ่มอื่นๆ ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ อย่างไรก็ตาม แรงงานนอกระบบางประเภท เช่น แรงงานในกลุ่ม ผู้รับงานกลับไปทำที่บ้าน และกลุ่มแรงงานเกษตรกรรม ปัจจุบันได้มีกฎหมายออกมารองรับแล้ว 2.3 หลักการคุ้มครองสิทธิแรงงาน สิทธิแรงงาน หมายถึง สิทธิของผู้ใช้แรงงาน ในความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ทั้งสิทธิ ทางกฎหมายและสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงานมักจะได้รับการรับรองโดยการออกกฎหมายว่าด้วยสิทธิ แรงงาน การจำกัดชั่วโมงการทำงาน และการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำ อย่างไรก็ตาม ความหมาย ของสิทธิแรงงาน จะเป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะ เป็นการให้สิทธิแก่แรงงานในระบบที่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ตามกฎหมาย แต่เมื่อพูดถึงสิทธิ แรงงานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบหรือแรงงานนอกระบบในประเทศไทย แรงงานทั้ง 2 ประเภทต่างก็คือพลเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้น ย่อมมีความเสมอภาคใน การได้รับความคุ้มครองทางสังคมเช่นพลเมืองเหมือนกัน เพื่อไม่ให้เกิดการเหลื่อมล้ำหรือการเลือก ปฏิบัติต่อต่อกลุ่มแรงงาน หากจะกล่าว สิทธิแรงงานก็คือสิทธิมนุษย์ชน พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 3 อธิบาย “สิทธิมนุษยชน” ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3