การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

18 ราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติ ตาม เพราะฉะนั้น การส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแรงงานในสังคมไทย คงไม่สามารถ พิจารณาการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานไทย หรือเฉพาะกฎหมายที่กระทรวงแรงงานดูแล บังคับใช้อยู่เท่านั้น แต่ต้องพิจารณาถึงความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเคยรับรองหรือเป็นภาคี ด้วย (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน พ.ศ 2560, 2560) บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ กล่าวว่า ขอบเขตของสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน ครอบคลุมสิทธิเสรีภาพ 5 ประเภท ที่ไม่สามารถแบ่งได้ว่าสิทธิใดมาก่อนหรือสำคัญกว่ากัน ดังนี้ 1) สิทธิพลเมือง ได้แก่ สิทธิในการได้รับสัญชาติ สิทธิในชีวิต ไม่ถูกทรมาน ทำร้าย หรือฆ่า สิทธิ ในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในการเคลื่อนย้ายหรือเลือกถิ่นที่อยู่ภายในประเทศ 2) สิทธิทางการเมือง ได้แก่ สิทธิในการเลือกวิถีชีวิตของตนเองทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมกับรัฐ เสรีภาพในกลุ่ม การชุมนุมโดยสงบ 3) สิทธิทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สิทธิในการมีงานทำ ได้เลือกงานโดยอิสระ ได้รับค่าจ้างเป็นธรรม สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน การได้รับมาตรฐานการครองชีพอย่างเพียงพอ 4) สิทธิทางสังคม ได้แก่ สิทธิในการได้รับการศึกษา สิทธิในหลักประกันสุขภาพ แม่และเด็กต้อง ได้รับการดูแลพิเศษ ได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเต็มที่ ได้รับความมั่นคงทางสังคม มีเสรีภาพใน การเลือกคู่ครอง และสร้างครอบครัว 5) สิทธิทางวัฒนาธรรม ได้แก่ มีเสรีภาพในการเลือกใช้ภาษาหรือสื่อความหมายในท้องถิ่น เสรีภาพการแต่งกายตามวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น การปฏิบัติตามควา มเชื่อทางศาสนา การ พักผ่อนหย่อนใจ การแสดงศิลปะ วัฒนธรรม บันเทิงโดยไม่มีใครบังคับ การรับรองและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ กฎหมา ย ภายในประเทศ สนธิสัญญา กติกาสากล และอนุสัญญาระหว่างประเทศหลายฉบับ แต่อาจมีปัญหา เรื่องการบังคับใช้เพราะกฎหมายบางฉบับจะมีสาระที่ขัดแย้งกับหลักการสิทธิมนุษยชนหรือมาตรฐาน แรงงานระหว่างประเทศ (บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ, 2548) 2.4 หลักสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นฐานของแรงงาน สวัสดิการสังคม หมายถึง ระบบการจัดบริการทางสังคม ซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไข การ พัฒนา และส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชน ให้มี คุณภาพชีวิติที่ดีและพึ่งพาตนเองได้อย่างทั่วถึง เหมาะสม เป็นธรรม และเป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งด้าน การศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การทำงาน การมีรายได้ นันทนาการ กระบวนการยุติธรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3