การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

19 และบริการสังคมทั่วไป โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิที่ประชาชนจะต้องได้รับ และการมี ส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมทุกระดับ ซึ่งระบบสวัสดิการสังคม เป็นโครงสร้างพื้นฐานเชิงสังคมที่ รัฐควรจัดให้แก่ประชาชน เพื่อสร้างความมั่นคงแก่ชีวิตของประชาชนทุกวัย สวัสดิการสังคม เป็น โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ การมีระบบสวัสดิการสังคมจะช่วยสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในการ เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม แห่งชาติ และสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2552) แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่แล้วมาจากพื้นฐานทางครอบครัวที่มีความยากจน เนื่องจากความ ยากจนเป็นต้นเหตุทำให้เกิดการด้อยโอกาสทางการศึกษา ดังนั้นแรงงานนอกระบบจึงเป็นแรงงานที่ จบการศึกษาภาคบังคับ ทำให้ไร้ความสามารถด้านฝีมือ สามารถทำงานได้แต่ประเภทที่จำเป็นต้องใช้ แรงงาน การด้อยโอกาสทางการศึกษาทำให้ขาดความรู้ อำนาจต่อรองในการเรียกร้องสิทธิต่างๆ แม้กระทั่งการเรียกร้องสิทธิการคุ้มครองทางสังคมตามกฎหมายแรงงานงาน อย่างไรก็ตาม แรงงาน นอกระบบยังคงมีสิทธิในฐานะของพลเมือง ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 4 กำหนดให้มีการคุ้มครองประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่แรงงานนอกระบบนั้นกลับ ไม่ได้รับการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ได้รับสวัสดิการทางสังคม และความปลอดภัยในการทำงานแต่ อย่างใด เมื่อลองเปรียบเทียบกับสิทธิขั้นพื้นฐานสวัสดิการทางสังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 54 แรงงานในระบบจะได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ 7 กรณี ได้แก่ กรณี เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน อีกทั้งเมื่อประสบ อันตรายหรือเจ็บป่วยหรือทุพลภาพในขณะทำงาน จะได้รับค่าทดแทนการขาดรายได้ตามกฎหมายว่า ด้วยเงินทดแทน ขณะที่แรงงานนอกระบบ ได้รับสิทธิเพียงกรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร ซึ่งเป็นสิทธิ ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่แรงงานนอกระบบจะต้องมี หน่วยงานที่เข้าไปดูแลโดยเฉพาะเพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับการคุ้มครองเทียบเท่ากับแรงงาน ในระบบในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐ ยังคงมีนโยบายกำกับ ดูแล ส่งเสริม ให้แรงงานนอกระบบ ได้รับการดูแล และสามารถเข้าถึ งสวัสดิการทางสังคมได้อย่างทั่วถึง อาทิเช่น มีการออก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 กฎกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2555) ออก ตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงาน ในงาน เกษตรกรรม พ.ศ. 2557 เป็นต้น (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, 2562) แต่ที่กล่าวมานั้น แรงงานนอกระบบประเภทผู้รับงานกลับไปทำที่บ้านและเกษตรกรรม เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแรงงาน นอกระบบ เนื่องจากแรงงานนอกระบบอีกจำนวนมากยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ เช่น แรงงาน อิสระในกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า หาบเร่ แผงลอย ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานได้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3