การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
20 2.5 แผนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน 2.5.1 กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) วัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ชาตินั้น เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้ บรรลุตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และเป้าหมายการพัฒนาประเทศข้างต้น จึงจำเป็นต้อง กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะยาวที่จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในเอกราชและ อธิปไตย มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศในทุกมิติทุกรูปแบบ และทุกระดับ เพื่อยกระดับฐานรายได้ของประชาชนในภาพรวมและกระจายผลประโยชน์ไปสู่ภาค ส่วนต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐาน ระบบสวัสดิการ และกระบวนการยุติธรรม ได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาของยุทธศาสตร์ ชาติ จะมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดย การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ“ประชารัฐ” โดยยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญ โดย แต่ละยุทธศาสตร์มีเป้าหมายและประเด็นการพัฒนา ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีเป้าหมายการ พัฒนาที่สำคัญ ที่ให้ความสำคัญกับการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการร่วมคิดร่วมทำเพื่อ ส่วนรวม การกระจายอำนาจและความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับท้องถิ่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชากร ไทยทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ สามารถ พึ่งตนเองและทำประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการ เข้าถึงบริการและสวัสดิการที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง 2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้น การยกระดับศักยภาพของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว จำเป็นจะต้องมองถึงพื้นฐานเพื่อประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยกระดับด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ การพัฒนา คน รวมถึงการปรับรูปแบบเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ พร้อมทั้งการส่งเสริม สนับสนุนจาก ภาครัฐ ให้ประเทศไทยเกิดการสร้างฐานรายได้ โดยการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของ ประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน มีเป้าหมายการพัฒนาและ เสริมสร้างศักยภาพของคน เพื่อพัฒนาคนและสังคมไทยให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศมี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3