การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

21 ความพร้อมทางกาย ใจ สติปัญญา มีความสากล มีทักษะการคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย มีคุณธรรม จริยธรรม รู้คุณค่าความเป็นไทย มีครอบครัวที่มั่นคง (ยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580), 2561) 2.5.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 เป็นแผนการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหา พื้นฐาน เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาขีดความสามารถของคนไทยให้สามารถทัดเทียมกับการแข่งขันใน ระดับโลก แต่ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในหลายด้าน เช่น คุณภาพคนไทยยังต่ำ แรงงานส่วนใหญ่มี ปัญหาเรื่องความรู้ ทักษะ และทัศนคติ สังคมขาดคุณภาพ มีความเหลื่อมล้ำสูง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการ ยกระดับศักยภาพการพัฒนา ดังนั้นจึงต้องเร่งพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับประเทศไทย โดย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ที่สำคัญซึ่งส่งผลต่อแรงงาน มีดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ จะมุ่งเน้นการเสริมสร้างการ พัฒนามนุษย์ เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ มีความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า มีทักษะการทำงาน และการใช้ชีวิตที่พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน ส่งเสริมแรงงานให้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ ที่เป็นไปตามความต้องการของตลาด พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ และผลักดันให้สถาบันทางสังคมมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศอย่างเข้มแข็ง 2) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ได้ กำหนดการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งเน้นไปในเรื่องของการแก้ปัญหา ความเหลื่อมล้ำ การสร้างความเป็นธรรม ความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มประชากร ความ แตกต่างของคุณภาพการบริการภาครัฐ รวมทั้งข้อจำกัดในการเข้าถึงกระบวนการภาครัฐของกลุ่ม ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งการปิดช่องว่างการคุ้มครองทางสังคมในประเทศ ไทย ในเรื่องการเพิ่มทักษะแรงงานและการใช้นโยบายแรงงานที่สนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน การเสริมสร้างรายได้สูงขึ้น และการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ สนับสนุนในเรื่องการสร้างอาชีพ รายได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องเร่งพัฒนาและแก้ไขปัญหาความเหลื่อม ล้ำ เพื่อไม่ให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ โดยจำเป็นต้องมีการเชื่อมโยง ทุกมิติของการพัฒนาอย่างบูรณาการเป็นองค์รวมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการ พัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ การกระจายการให้บริการภาครัฐทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข และ สวัสดิการที่มีคุณภาพให้ ครอบคลุมและทั่วถึง ตลอดจนปรับปรุงปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจ รวมทั้ง กฎหมาย กฎระเบียบให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม จะทำให้ประชากรทุกกลุ่มมีโอกาสเข้าถึงบริการ ของรัฐและทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน สามารถพัฒนาศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตให้มั่นคง และดีขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3