การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

22 3) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยื น แผนพัฒนานี้จะเน้นไปที่การบริหารจัดการเศรษฐกิจส่วนรวม การเสริมสร้างและพัฒนาขี ด ความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการให้มีความเข้มแข็ง ยั่งยืน พร้อมทั้งสนับสนุน ผู้ประกอบการลงทุน และส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อม (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564, 2559) 2.5.3 แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560 – 2564 แรงงานนอกระบบ ได้รับการยอมรับว่าเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากการสำรวจแรงงานนอกระบบมีสัดส่วนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของ ผู้ทำงานทั้งหมดมาโดยตลอด ซึ่งแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาที่ไม่สูงนัก กล่าวคือ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า และมีปัญหาในการทำงานหลายประการ ได้แก่ ปัญหา ค่าตอบแทนจากการทำงานต่ำและไม่แน่นอน ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีวันหยุด สภาพแวดล้อมการทำงาน ไม่ปลอดภัย ทำงานอยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ ในสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม รวมถึงมีสถิติการได้รับ บาดเจ็บอันเนื่องมาจากการทำงานสูง ทั้งนี้ การที่แรงงานนอกระบบประสบปัญหาข้างต้น เนื่องจาก เป็นผู้ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายด้านแรงงาน และไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน ปัจจุบันการดูแลคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนอกระบบ อยู่ในความรับผิดชอบ ของหน่วยงานหลายหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคมหลายองค์กรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ ดูแลแรงงานนอกระบบร่วมกับภาครัฐ ภายใต้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2555 – 2559 ซึ่งมีวิสัยทัศน์ คือ “แรงงานนอกระบบ ได้รับการคุ้มครองมีหลักประกันทางสังคม นำสู่ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีการดำเนินการดูแล คุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาแรงงานนอก ระบบมาโดยตลอด พบว่า แรงงานนอกระบบยังคงมีสัดส่วนที่สูงกว่าแรงงานในระบบและยังคง ประสบปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องให้การคุ้มครอง ส่งเสริม และ พัฒนาแรงงานนอกระบบต่อไป เพื่อให้การส่งเสริม คุ้มครองและดูแลแรงงานนอกระบบเป็นไปอย่าง ต่อเนื่องและมีทิศทางที่ชัดเจน โดยแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560 – 2564 มีเป้าประสงค์ ดังนี้ 1) ให้แรงงานนอกระบบทุกกลุ่มอาชีพ ได้รับการคุ้มครองและเข้าถึงหลักประกันสังคม อย่างทัดเทียมกับแรงงานในระบบ 2) แรงงานนนอกระบบมีสมรรถนะสูงขึ้น มีงานทำอย่างต่อเนื่องและมั่นคง 3) แรงงานนอกระบบและบุคลากรภาครัฐมีความรู้ความเข้าใจเรื่องแรงงานนอกระบบ และสิทธิตามกฎหมายของแรงงานนอกระบบ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3