การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

23 4) ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงแรงงานนอกระบบ ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพและ ความปลอดภัยในการทำงาน 5) กฎหมายด้านแรงงานนอกระบบมีความครอบคลุม ทันสมัย และการบังคับใช้อย่างมี ประสิทธิภาพ 6) มีระบบสารสนเทศด้านแรงงานนอกระบบที่ทุกหน่วยงานสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ได้ 7) กลไกการทำงานด้านแรงงานนอกระบบทุกระดับมีประสิท ธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานเชิงรุก ซึ่งมีการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ไว้ 3 ประเด็น คือ 1) เสริมสร้างหลักประกันทางสังคมและขยายความคุ้มครองให้ทั่วถึง ภาครัฐตระหนักถึง ความสำคัญแรงงานนอกระบบและได้พยายามให้การช่วยเหลือแรงงานนอกระบบมาโดยตลอด เพื่อให้ แรงงานนอกระบบได้รับความคุ้มครอง และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายซึ่งส่งผลให้แรงงานนอกระบบ มีหลักประกันชีวิตที่มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยขยายหลักประกันสังคมสู่แรงงานนนอกระบบ แต่ยังพบว่าปัญหาการเข้าถึงหลักประกันทางสังคมของแรงงานบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่พื้นที่ ห่างไกล ดังนั้น ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างหลักประกันทางสังคมและขยายความคุ้มครองให้ทั่วถึง จึง กำหนดกลยุทธ์ ดังนี้ 1.1 ขยายและเสริมสร้างหลักประกันทางสังคมให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพ 1.2 พัฒนาช่องทางการเข้าถึงความคุ้มครองและหลักประกันทางสังคม 1.3 เสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงด้านสุขภาพ ชีวอนามัย และความปลอดภัยใน การทำงานอย่างทั่วถึง 1.4 พัฒนาและปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ผู้สูงอายุ คนพิการ และ แรงงานในภาคเกษตร 2) เสริมสร้างสมรรถนะแรงงานนอกระบบเพื่อการทำงาน การพัฒนาแรงงานนอกระบบ เป็นฐานสนับสนุนการพัฒนาการผลิต การจ้างงาน และการสร้างรายได้ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศ สอดคล้องกับข้อเสนอเรื่องงานที่ให้คุณค่าขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่ให้ความสำคัญ ต่อการเคารพหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน การสร้างงานที่มีคุณภาพและส่งเสริม ศักยภาพ เพื่อสร้างโอกาสในการทำงาน แต่ปัญหาของแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่มีรายได้น้อยและไม่ แน่นอน หรือมีรายได้คงที่ไม่มีการปรับเปลี่ยน และไม่สามารถเลือกงานที่ต้องการทำได้เนื่องจา ก การศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าประถมศึกษา แรงงานนอกระบบหลายคนไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายของการ รวมกลุ่มอาชีพ ส่งผลให้การรวมกลุ่มเกิดขึ้นได้ยาก ขาดโอกาสการเข้าถึงแหล่งทรัพยากร ทั้งด้านทุน ทรัพย์ วัตถุดิบราคาถูก เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงแหล่งจำหน่ายสินค้า ดังนั้น ภาครัฐจึง ควรดำเนินการต่อเนื่องในการพัฒนาทักษะทางอาชีพที่ตรงกับความต้องการของแรงงานนอกระบบ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3