การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
31 ภาษีและการจ่ายเงินสมทบการประกันสังคม ทั้งนี้ ควรมีสิ่งจูงใจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการ ปรับเปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจในระบบได้อย่างมีประสิทธิผลและทันการณ์ ซึ่งข้อเสนอแนะฉบับนี้ถือเป็นเป็นมาตรฐานแรงานระหว่างประเทศฉบับแรก ที่มีการ กล่าวถึงการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ โดยประเทศไทยก็ได้มีการนำข้อเสนอแนะฉบับนี้มา ดำเนินการผ่านมาตรการต่างๆ เพื่อขยายความครอบคลุมของระบบประกันสังคมไปยังกลุ่มแรงงาน นอกระบบ เช่น การออกมาตรการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แรงงานนอกระบบของประเทศไทยมาอยู่ใน ระบบประกันสังคม ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งจะทำให้มีสิทธิ สวัสดิการที่ใกล้เคียงกับผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 อย่างไรก็ตาม แม้องค์การแรงงาน ระหว่างประเทศจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ แต่ประเทศไทยในฐานะสมาชิกขององค์การระหว่าง ประเทศ ก็ยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนออกมารองรับในบางประเด็น เช่นการเกณฑ์แรงงานภาคบังคับ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบ ค่าตอบแทนที่เท่าเทียม คงมีเพียงการปรับใช้แค่บาง ประการเท่านั้น 2.6.2 กฎหมายต่างประเทศ การจัดการปัญหาแรงงานนอกระบบของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้มีความพยายามในการ จัดการแรงงานนอกระบบโดยมีแนวคิดในการจัดการอย่างหลากหลายรูปแบบ โดยบรรดาประเทศใน ยุโรปได้ถือเอา “ระบบรัฐสวัสดิการ” เป็นระบบสร้างหลักประกันสิทธิพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของ ประชากรอย่างแพร่หลายมากที่สุด (นนทกานต์ จันทร์อ่อน, 2556) ซึ่งแต่ละประเทศมีการจัดการที่ แตกต่างกัน โดยมีการจำแนกรูปแบบรัฐสวัสดิการที่ดำเนินการในยุโรป ได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบรัฐสวัสดิการแบบนอร์ดิก (The Nordic Model) หรือบางที ก็เรียกว่า Scandinavian Model หรือ Social Democratic Model หรือ Institutional Model ซึ่งประโยชน์ ทดแทนทางสังคมที่ให้กับประชาชนทุกคนในประเทศเหมือนกันหมดและทั่วถึงทุกคน 2) รูปแบบรัฐสวัสดิการแบบเบเวอร์ริดจ์ (The Beveridge Model) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ริเริ่ม การประกันสังคมในอังกฤษ รูปแบบนี้ให้ประโยชน์ทดแทนทางสังคมเฉพาะแก่ผู้ที่มีความต้องการ จําเป็นที่ลําบากมากเท่านั้น ไม่ได้ให้ทุกคนเท่ากันหมดอย่างรูปแบบแรก รูปแบบนี้บางทีก็เรียกว่า The Anglo-Saxson Model หรือ The Liberal Model หรือ the Residual Welfare Model 3 ) รูปแบบรัฐสวัสดิการแบบบิสมาร์ก ( The Bismarck Model) ซึ่ง เป็นชื่อขอ ง นายกรัฐมนตรีเยอรมัน (German Chancellor) ที่เริ่มให้มีกฎหมายการประกันสังคมฉบับแรกๆ รูปแบบนี้ประโยชน์ทดแทนทางสังคมให้เฉพาะผู้ที่เข้าสู่ในตลาดแรงงาน รูปแบบนี้บางที เรียกว่า The Central European Model ห รื อ The Conservative Model ห รื อ Achievement Oriented Model
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3