การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
32 4) รูปแบบรัฐสวัสดิการแบบการให้การอุดหนุน (the Subsidiarity Model) ซึ่งบางที เรียกว่า The Southern European Model หรือ The Catholic Model เป็นรูปแบบสวัสดิการที่ถือ ว่า ความรับผิดชอบทางสังคมต้องอยู่ที่ครอบครัว หรืออยู่ในหน่วยที่ใกล้ชิดกับ ครอบครัวให้มากที่สุด เท่าที่จะกระทำได้ แต่ในบางประเทศใช้ “ระบบการประกันสังคม” ในการเข้าไปดูแลและให้ความคุ้มครอง แรงงานนอกระบบ ดังนี้ 2.6.2.1 สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการจัด หลักประกันด้านสังคมและประกันสุขภาพแก่ประชาชนด้วยระบบประกันสังคมหรือประกันภาคบังคับ หลักการพื้นฐานสำคัญของระบบการเมืองเยอรมัน คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในสังคม (Solidarity) การกระจายอำนาจและบทบาทหน้าที่ระหว่างหน่วยงานรัฐ (ส่วนกลาง ภูมิภาค) และ เอกชน (Subsidiarity) เป็นพื้นฐานการพัฒนาองค์กรทางสังคมจากล่างขึ้นบน กระจายอำนาจในการ แปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้กับหน่วยงานท้องถิ่นหรือภาคเอกชนในการดำเนินการ สหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนีมีวิวัฒนาการของระบบประกันสุขภาพที่ยาวนาน ตั้งแต่ปี 1883 ซึ่งถือว่าเป็น ต้นแบบของระบบประกันสุขภาพภาคบังคับของประเทศต่างๆ การปฏิรูปในสหพันธ์รัฐสาธารณรัฐ เยอรมนีมุ่งเน้นการให้ประโยชน์กับประชาชนและสังคมโดยรวมเป็นที่ตั้ง มีระบบประกันสังคมที่ ซับซ้อนแบ่งแยกหมวดโดยเฉพาะเพื่อให้ครอบคลุมพลเมืองอย่างทั่วถึง จึงเห็นได้ว่าพลเมืองชาว เยอรมนีสามารถอยู่อย่างสบาย แม้ว่าจะป่วย ทุพพลภาพ ว่างงาน หรือเกษียณอายุก็ตาม (สัมฤทธิ์ ศรี ธํารงค์สวัสดิ์, 2543) ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีกฎหมาย Sozialgesetzbuch (SGB) Viertes Buch (IV) – Gemeinsame Vorchriften für die Sozialversicherung – (Artikel I does Gesetzes vom 23. Dezember 1976, BGBI. I S. 3845 เป็นระบบประกันสังคม 5 ประเภท ได้แก่ ประกันสุขภาพ ประกันการดูแลระยะยาว ประกันอุบัติเหตุ ประกันการว่างงาน และประกันบำนาญ โดยพนักงานลูกจ้างที่มีนายจ้าง มีการรับเงินเดือน จำเป็นต้องมีประกันสุขภาพ การประกันดูแลระยะ ยาว การประกันการว่างงาน และการประกันบำนาญ ส่วนการประกันอุบัติเหตุนั้นจะเป็นไปตามความ สมัครใจ โดยประกัน 4 ประเภทแรก จะเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องเป็นผู้ลงทะเบียนให้กับลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างจะต้องเป็นรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งและลูกจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบอีกส่วนหนึ่ง โดยนายจ้างจะนำเงินดังกล่าวส่งให้กับผู้รับประกันต่อไป (Bundesrepublik Deutschland, 2022) ส่วนการประกอบอาชีพอิสระนั้น กรณีที่เกิดการว่างงานจะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานทาง ภาครัฐ แต่ทั้งนี้ ยังมีการเปิดช่องให้ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระสามารถทำประกันการว่างงานได้ โดย จะต้องทำประกันการว่างงานและแจ้งต่อกรมแรงงานในช่วงสามเดือนแรกที่เริ่มทำงาน นอกจากนั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3