การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

34 2.6.2.2 ประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น มีระบบบริหารราชการแผ่นดินเพียงราชการบริหารส่วนกลางและ ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระของท้องถิ่น การใช้สิทธิ์ ในการบริหารจัดการตลอดจนการออกกฎระเบียบต่างๆ ของแต่ละท้องถิ่นเองได้ โดยราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นนั้น จะแบ่งอำนาจหน้าที่ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) หน้าที่โดยตรงของท้องถิ่น ซึ่งคอยดูแลด้านการศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณสุข และอนามัย 2) หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหรือราช กฤษฎีกาที่รัฐบาลเป็นผู้ออก โดยท้องถิ่นมีอำนาจในการตัดสินใจดำเนินการต่างๆ ได้เอง การจัดสรรงบประมาณระหว่างราชการบริหารส่วนกลางและราชการบริหารส่วน ท้องถิ่น จะมีสัดส่วนอยู่ที่ 42.2 : 57.8 โดยประเภทรายจ่ายที่มีสัดส่วนมากที่สุดคือด้านสวัสดิการ สังคม ซึ่งคิดเป็นร้อย 71 ของงบประมาณทั้งหมด (สุมิทธิ์ เกศวพิทักษ์, 2562) ซึ่งสอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่น ระบุว่าคนญี่ปุ่นทุกคนมีสิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพขั้นต่ำและชีวิต ที่ดี ซึ่งได้มีการจัดตั้งระบบประกันสังคมสากล กฎหมายว่าด้วยการช่วยเหลือสาธารณะ กฎหมาย สวัสดิการเด็ก กฎหมายสวัสดิการสำหรับคนพิการ บำเหน็จบำนาญและประกันสุขภาพแห่งชาติ ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่นโดยจัดให้มีระบบการประกันสุขภาพในลักษณะของการจ่ายเงินเพื่อรับ บริการ (Fee for-service payment) โดยนายจ้างและลูกจ้างมีส่วนร่วม และรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการ ความสำเร็จของโครงการสุขภาพในญี่ปุ่นมาจากความร่วมมือของคนในสังคมและโครงสร้างด้าน สาธารณสุขที่เข้มแข็ง ประเทศญี่ปุ่นกำหนดให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งได้ถูก กำหนดไว้ใน Labour Standard Act (Japan) (Law No.49 of 7 April 1947 as amended through Law No.107 of 9 June 1995) มีสาระสำคัญ ในเรื่องของการทำสัญญาจ้าง การเลิกจ้าง ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน วันหยุด การคุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี เงินทดแทนจากการประสบอุบัติเหตุหรือ เจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน และข้อบังคับในการทำงาน อย่างไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นได้แบ่ง ระบบประกันสังคมเป็น 4 ระบบ คือ การประกันอุบัติเหตุจากการทำงาน การประกันการจ้างงาน การ ประกันสุขภาพ และการประกันด้านบำนาญของผู้เกษียณอายุ ทั้งนี้ การประกันอุบัติเหตุจากการ ทำงานและการประกันการจ้างงาน จะเรียกรวมกันว่าการประกันแรงงาน (Labour Insurance) ขณะที่การประกันสุขภาพและการประกันชราภาพของผู้เกษียณอายุจะเรียกรวมกันเป็นการ ประกันสังคม (Social Insurance) (สำนักวิจัยเศรษฐกิจและประเมินผล บริษัท เอ็กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจเม้นท์ จำกัด, 2557) ได้กำหนดสาระสำคัญไว้ 4 ประเภท ดังนี้ 1) การประกันอุบัติเหตุจากการทำงาน จะใช้บังคับกับลูกจ้างทุกคน โดยนายจ้าง เป็นผู้จ่ายเงินสมทบฝ่ายเดียว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3