การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
37 1.5 ล้านเยน) โดยลูกจ้างผู้ประกันตน และนายจ้างจ่ายสมทบในอัตราส่วนที่เท่ากันร้อยละ 8.56 ของ รายได้และโบนัสของลูกจ้าง 4.7 ลูกจ้างชาวต่างชาติที่มาจากประเทศที่มีข้อตกลงด้านการประกันชราภาพ กับประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ราชอาณาจักรเบลเยียม สาธารณรัฐฝรั่งเศส แคนาดา (ยกเว้นรัฐควีเบค) เครือรัฐ ออสเตรเลีย ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐไอร์แลนด์ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และสมาพันธรัฐสวิส ได้รับยกเว้น ไม่ต้องเข้าโครงการประกันชราภาพ 4.8 ลูกจ้างต่างชาติที่เข้าโครงการชราภาพแต่ต้องกลับประเทศก่อนที่จะมี สิทธิ ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์จากโครงการตามสัดส่วนของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบและจำนวน เงินสมทบที่จ่าย จะเห็นได้ว่าแรงงานทุกประเภทซึ่งทำงานในประเทศญี่ปุ่น จะได้รับการคุ้มครอง ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเป็นไปตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงผู้ทำงานบางเวลาใน ประเทศญี่ปุ่นก็จะได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม คนทำงานบางเวลา (Part-Time Workers) ในประเทศญี่ปุ่นจัดเป็นแรงงานนอกระบบประเภทหนึ่ง จากข้อมูลพบว่าแรงงานหญิงส่วน ใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นเป็นแรงงานที่ทำงานบางเวลา (Part-Time Employees) อันเนื่องมาจากการ ต้องเผชิญกับปัญหาการเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองและความไม่เท่าเทียมกันในการจ้างงานระหว่างแรงงาน ชายและแรงงานหญิงในประเทศ สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อคุ้มครองแรงงานที่ทำงานบางเวลาของ ประเทศญี่ปุ่นปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติ Act on Improvement of Employment Management for Part-Time Workers โดยประกาศใช้เมื่อวันที่18 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ประกอบด้วย 47 มาตรา ซึ่ งได้มีการออกประกาศ The Ordinance for Enforcement of the Act on Improvement of Employment Management for Part-Time Workers ขึ้นมาในปีเดียวกัน แต่สำหรับประกาศ The Ordinance for Enforcement of the Act on Improvement of Employment Management for Part-Time Workers นั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปี 2554 (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, 2562) โดยเนื้อหาสาระสำคัญกำหนดให้คนที่ทำงานบางเวลามีสิทธิได้รับโอกาสและความเท่าเทียม โดยได้รับสวัสดิการ การฝึกอบรม การพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ตลอดจนค่าจ้างและการปฏิบัติต่อผู้ ทำงานบางเวลา เช่นเดียวกับคนที่ทำงานเต็มเวลา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจ้างงาน ของประเทศญี่ปุ่นต่อไปในอนาคต (มาตรา 1 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 และมาตรา 13) โดยผู้ประกอบการต้องปฏิบัติต่อผู้ทำงานบางเวลาอย่างเท่าเทียมเสมือนกับผู้ที่ทำงาน เต็มเวลา พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้ทำงานบางเวลาสามารถเปลี่ยนมาเป็นผู้ทำงานเต็มเวลาได้ และ กำหนดให้สมาคมผู้ประกอบการจะต้องจัดให้มีการให้คำปรึกษา การให้ความร่วมมือและความ ช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ สำหรับผู้ทำงานบางเวลาในสถานประกอบการของสมาชิก (มาตรา 3)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3