การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

38 นอกจากการกำหนดบทบาทของผู้ประกอบการแล้ว หน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ต้องให้การสนับสนุน คำแนะนำ และความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมสวัสดิการแก่ คนทำงานบางเวลา เช่น การฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพในการทำงาน ความช่วยเหลือในด้าน การเงิน เป็นต้น (มาตรา 4) และเพื่อส่งเสริมสวัสดิการของคนทำงานบางเวลา กฎหมายได้กำหนดให้ หน่วยงานภาครัฐส่วนกลางจำเป็นต้องระบุนโยบายซึ่งจะต้องดำเนินการ ไว้ 4 ประการ คือ 1) แนวโน้มชีวิตการทำงานของคนทำงานบางเวลา 2) การพัฒนาความสามารถในการทำงานของ คนทำงานบางเวลา 3) การกำหนดสวัสดิการที่จำเป็นให้แก่คนทำงานบางเวลา 4) นโยบายเกี่ยวกับ การส่งเสริมสภาพการจ้างงานและสถานการณ์การทำงานที่ดีมีคุณภาพแก่ลูกจ้างที่ทำงานบางเวลา (มาตรา 5) นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดว่าหากผู้ประกอบการมีความประสงค์ที่จะ เปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎระเบียบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ทำงานบางเวลา จำเป็นที่จะต้องรับฟังความ คิดเห็นจากตัวแทนของผู้ทำงานบางเวลาก่อน (มาตรา 7) โดยหน่วยงานภาครัฐส่วนกลางจะจัดตั้ง “ศูนย์ให้ความช่วยเหลือคนทำงานบางเวลา” เพื่อให้ความช่วยเหลือและดำเนินกิจการเกี่ยวกับ สวัสดิการของคนทำงานบางเวลา (มาตรา 25) ซึ่งศูนย์ให้ความช่วยเหลือคนทำงานบางเวลา มีหน้าที่ ดังนี้ 1) เก็บรวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวกับชีวิตและสภาพการทำงานของ คนทำงานบางเวลาในแต่ละสถานประกอบกิจการ ผู้ประกอบการต่างๆ และบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 2) ส่งเสริมสวัสดิการของคนทำงานบางเวลา ศูนย์ให้ความช่วยเหลือคนทำงาน บางเวลา จะดำเนินโครงการส่งเสริมฟื้นฟูความปลอดภัยในการทำงานให้แก่คนทำงานบางเวลา ตามที่ บัญญัติในกฎหมาย The Workers’Accident Compensation Insurance Act 1947 และกฎหมาย The Employment Insurance Act 1974 (ม า ต ร า 2 7 ) (The Act on Improvement, etc. of Employment Management for Part-Time Workers, 1993) กลุ่มลูกจ้างทำงานไม่เต็มเวลาซึ่งถือเป็นแรงงานนอกระบบประเภทหนึ่งของ ประเทศญี่ปุ่น จะเห็นว่าประกันสุขภาพนั้นประชาชนทุกคนของประเทศญี่ปุ่นจะได้รับสวัสดิการ เนื่องจากเป็นสวัสดิการภาคบังคับ นอกจากนั้นเห็นได้ว่ารัฐบาลประเทศญี่ปุ่นเล็งเห็นความสำคัญของ แรงงานนอกระบบ โดยกำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างบางเวลาได้รับสวัสดิการที่ทัดเทียมกับ ลูกจ้างเต็มเวลาและพยายามกระตุ้นให้กลุ่มผู้ประกอบการส่งเสริมให้นำแรงงานนอกระบบเข้าสู่ แรงงานในระบบ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการว่าจ้างงานที่เป็นธรรมและเกิดความมั่นคงต่อ แรงงานทั้งในด้านสภาพการทำงานและสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวด้วย แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายของประเทศญี่ปุ่นยังไม่มีการกล่าวถึงสิทธิประโยชน์กรณีการว่างงานของแรงงานนอกระบบ แต่อย่างใด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3