การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

39 2.6.2.3 ประเทศสิงคโปร์ แรงงานนอกระบบของประเทศสิงคโปร์ หมายถึง ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือ ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ เจ้าของธุรกิจซื้อขายสินค้าหรือบริการ ( Self-employed Persons-SEP) อยู่ในตำแหน่งที่เข้าใจสถานการณ์ธุรกิจผลกำไรขาดทุน มีรายได้มาจากการซื้อขาย สินค้า บริการ หรือ ความรู้เฉพาะทาง ซึ่งอาจเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นห้างหุ้นส่วนก็ได้ ตัวอย่าง เช่น พี่เลี้ยงเด็ก ตัวแทนบริษัทประกัน หรือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตัวแทนขายตรง ผู้ทำงาน อิสระ (ได้รับค่าตอบแทนจากการให้บริการ เช่น ดีเจ นักร้อง นักเต้น สอนออกกำลังกาย หรือที่ ปรึกษา) เจ้าของธุรกิจขนาดย่อมในศูนย์อาหารที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดย National Environment Agency เจ้าของธุรกิจสินค้าและบริการ เจ้าของธุรกิจออนไลน์ (กรณีซื้อและขาย สินค้าหรือให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต) เจ้าของกิจการตามวิชาชีพ เช่น นักบัญชี สถาปนิก แพทย์ ทนายความ คนขับรถแท็กซี่ ครูสอนพิเศษ (ภาคเอกชนที่หานักเรียนด้วยตัวเองหรือผ่านหน่วยงาน และไม่ได้รับเงินเดือนจากศูนย์การเรียนการสอน) นอกจากนี้ อาชีพอิสระบางอาชีพจะต้องมี ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่รัฐกำหนด ส่วนการสร้างหลักประกันสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ อิสระนั้น รัฐบาลจะกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Central Provident Fund – CPF) ซึ่งเป็นกองทุนที่ถูกบริหารจัดการโดยกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในตลาดแรงงานของประเทศสิงคโปร์มีทุนสำรองเลี้ยงชีพและหมดภาระเรื่อง ที่พักอาศัยรวมถึงมีเงินค่ารักษาพยาบาลอย่างเพียงพอหลังจากเกษียณอายุแต่จะไม่มีกรณีว่างงาน โดย กองทุนดังกล่าวมีข้อกำหนดว่าหากมีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมากกว่า 6,000 เหรีญสิงคโปร์ จะต้องส่ง เงินเข้าบัญชีสะสมเพื่อสุขภาพ ซึ่งเงินที่จ่ายมานั้นจะถูกใช้สำหรับ 3 บัญชี คือ 1) Ordinary Account (OA) ดูแลในเรื่องที่พักอาศัย การลงทุน และการศึกษา 2) Special Account (SA) ดูแลในเรื่องการ เกษียณอายุและการลงทุนที่เกี่ยวข้องหลังเกษียณอายุ 3) Medisave Account (MA) ดูแลในเรื่องการ รักษาพยาบาลและค่าเบี้ยประกันสุขภาพ นอกจากนั้น ผู้ประกอบอาชีพอิสระยังมีโอกาสได้รับความ ช่วยเหลือจากโครงการ Workfare Income Supplement Scheme – WIS ซึ่งเป็นการให้ความ ช่วยเหลือในรูปเงินสดและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Central Provident Fund – CPF) สำหรับผู้ที่ เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อยกระดับฝีมืออย่างสม่ำเสมอและสำหรับนายจ้างที่ส่งลูกจ้างสูงอายุเข้ารับการ ฝึกอบรม สามารถที่จะได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการนี้ได้ ซึ่งเป็นจำนวนเงินระหว่าง 933 เหรียญ สิงคโปร์ สูงสุด 2,333 เหรียญสิงคโปร์ โดยร้อยละ 10 จ่ายเป็นเงินสด ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 90 จ่าย เข้าบัญชีสะสมเพื่อสุขภาพ (Medisave Account - MA) ส่วนผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพอิสระและมี รายได้ต่ำมาตลอดชีวิตทำให้ไม่มีเงินสำหรับเลี้ยงชีพในยามเกษียณอายุ รัฐบาลจะให้การช่วยเหลือ อัตโนมัติ โดยจำนวนเงินช่วยเหลือจะขึ้นกับขนาดของที่พักอาศัยซึ่งเป็นจำนวนเงินระหว่าง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3