การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
41 เห็นได้ว่าประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด ประเทศ สิงคโปร์จึงมุ่งพัฒนาศักยภาพของแรงงานและการดูแลแรงงานไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เน้นให้ แรงงานพึ่งพาตนเองเป็นหลักก่อนจะไปพึ่งพาสังคม ซึ่งเห็นได้ว่าแรงงานทุกประเภทของประเทศ สิงคโปร์นั้นต่างได้รับสวัสดิการที่เท่าเทียมกัน แม้แต่กระทั่งแรงงานบางเวลาก็ยังมีกฎหมายออกมา คุ้มครองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้ได้มากที่สุด 2.6.3 กฎหมายประเทศไทย 2.6.3.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดไว้ว่าสิทธิและ ความเสนอภาคต้องได้รับความคุ้มครอง (มาตรา 4) สิทธิและเสรีภาพของบุคคลต้องได้รับความ คุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน (มาตรา 27) และ รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐ ในการทำเพื่อให้ เกิดป ระโยชน์แก่ประชาชน (มาตรา 51 ) เห็น ได้ว่ารัฐธรรมนูญ แห่ งราชอาณ าจักรไทย ให้ความสำคัญที่จะดูแลประชาชนโดยไม่แบ่งแยก กำหนดเป็นทั้งสิทธิที่ประชาชนจะได้รับและเป็น หน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดให้มีความคุ้มครอง อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนด ไว้ว่า“รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทำงานอย่างเหมาะสมกับศักยภาพและวัยและ ให้มีงานทำ และพึงคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดีในการทำงาน ได้รับรายได้ สวัสดิการ การประกันสังคม และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพ และพึงจัด ให้มีหรือส่งเสริมการออมเพื่อการดำรงชีพเมื่อพ้นวัยทำงาน” (มาตรา 74) (รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2560) จากมาตราดังกล่าว การที่รัฐส่งเสริมให้ประชาชนมีงาน ทำ การให้ความคุ้มครอง การช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน และการดูแลเมื่อพ้นวัยทำงาน หลักการดังกล่าว ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐในการกำหนดมาตรการหรือกลไกลช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน อย่างไรก็ตาม แรงงานเป็นพื้นฐานและอาชีพหลักของสังคมไทย และในอนาคตสังคมไทยจะเป็นสังคมของผู้สูงอายุจึง ไม่อาจทราบได้ว่าจะต้องมีอายุเฉลี่ยเท่าใดที่จะถือว่าเป็นประชากรในวัยทำง าน ดังนั้นจึงได้บัญญัติ ความว่า “รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทำงานอย่างเหมาะสมกับศักยภาพและวัย และให้มีงานทำ” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้างเพื่อรองรับศักยภาพการทำงานของประชากรวัย ทำงานในอนาคต นอกจากนั้น ยังได้กำหนดไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” (มาตรา 47) ซึ่งเป็นการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่จะได้รับบริการสาธารณสุข ได้รับการป้องกัน การขจัด โรคติดต่ออันตราย และคุ้มครองคนยากไร้ ที่จะได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3