การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

42 จากมาตราดังกล่าวได้มีการปรับปรุงหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ยากไร้ให้กว้างขึ้น โดยจากเดิมที่ เคยบัญญัติให้ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายซึ่งจำกัดแต่เฉพาะการรักษาพยาบาลจากสถานบริการของรัฐ เป็นมีสิทธิได้รับบริการ สาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นบริการที่กว้างกว่าการรักษาพยาบาล (สำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2562) เห็นได้ว่าจากมาตรา 74 รัฐส่งเสริมที่จะให้ความคุ้มครองการช่วยเหลือผู้ใช้ แรงงาน และการดูแลเมื่อพ้นวัยทำงาน และมาตรา 47 มีความสอดคล้องกันในเรื่องที่กำหนดให้ ประชาชนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ ซึ่งทั้ง 2 มาตราดังกล่าวต่างมุ่งหวังผลที่จะดูแล ประชาชนผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนถึงผู้ยากไร้ให้สามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นฐาน 2.6.3.2 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีพ ในกลุ่มของสมาชิกที่มี รายได้และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมโดยสมาชิกจะได้รับผลประโยชน์ทดแทนเมื่อ เจ็บป่วย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ ว่างงาน และเสียชีวิต เพื่อให้ได้รับการ รักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง (โสรญา พิกุลหอม, 2561) ปัจจุบันประเทศไทย ใช้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งถูกพัฒนามา จากพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2497 เป็นกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการแรงงานที่เกี่ยวกับการ จัดตั้งกองทุนที่เรียกว่า “กองทุนประกันสังคม” (อรุณี ไชยเสนา, 2563) โดยเงินที่มาหลักของกองทุน ดังกล่าว มาจาก 3 ฝ่ายคือ 1) ฝ่ายนายจ้าง ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีหน้าที่ขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อม กับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง 2) ฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี บริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ 3) ฝ่ายรัฐบาล ประกันสังคม สามารถแบ่งออกเป็น 3 มาตราหลักๆ ที่ครอบคลุมถึงคนแทบทุก กลุ่มที่ควรจะมีหลักประกันในชีวิต ตามความหมายในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 (พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533, 2533) ดังนี้ 1) ให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็น ผู้ประกันตน โดยลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้วเมื่อมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และยังเป็นลูกจ้าง ของนายจ้างซึ่งอยู่ภายในบังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตนต่ อไป (มาตรา 33) หมายความว่า สถานประกอบการซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และลูกจ้างนั้นมีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 60 ปี ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่จัดให้ลูกจ้างทำประกันสังคมโดยหักรายได้ ส่วนหนึ่งของลูกจ้างและนายจ้างจ่ายสมทบอีกส่วนหนึ่ง ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยหากอายุ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3