การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

43 ครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้วยังคงทำงานเป็นลูกจ้างต่อ ให้ถือเป็นผู้ประกันตนต่อไป อัตราเงินสมทบที่นําส่ง เป็นกองทุนต่อเดือนจะคิดจากฐานเงินเดือนของลูกจ้างที่สมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ขั้นต่ำสุดที่อัตรา 1,650 บาท และสูงสุดที่อัตราไม่เกิน 15,000 บาท โดยคิดร้อยละ 5 ของฐานเงินเดือนที่ผู้ประกันตน นั้นๆ ได้รับแต่ละเดือน กำหนดให้ลูกจ้างคือผู้ประกันตนและนายจ้างออกเงินสมทบฝ่ายละเท่าๆ กัน ในประโยชน์ทดแทนทั้ง 7 กรณี ส่วนฝ่ายรัฐบาลให้ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเท่ากับผู้ประกันตนและ นายจ้างใน 4 กรณีแรก คือ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายและคลอดบุตร ส่วน 3 กรณีหลังคือ สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน จะสมทบน้อยกว่า 4 กรณีแรกตามที่กฎหมาย กำหนด 2) ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า สิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 ถ้าผู้นั้นประสงค์จะเป็น ผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนด ภายในหกเดือน นับแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (มาตรา 39) หมายความว่า ผู้เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตร 33 ต่อมาขาดสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง หากผู้ประกันตนนั้นเคยจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และประสงค์จะเป็นประกันตนต่อไปให้แจ้งความประสงค์นั้นแก่สำนักงานประกันสังคมภายใน 6 เดือน นับแต่สิ้นสุดการเป็นลูกจ้าง และให้ส่งเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด 3) บุคคลอื่นใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตาม พระราชบัญญัตินี้ก็ได้ โดยให้แสดงความจำนงต่อสำนักงาน (มาตรา 40) หมายความว่า ผู้ซึ่งไม่อยู่ ใน เกณฑ์ตามมาตรา 33 และมาตรา 39 แต่ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ให้แสดงความจำนง ต่อสำนักงานประกันสังคม จะพบว่าพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้เปิดช่องให้ทุกคนสามารถ เป็นผู้ประกันตนได้ทั้งโดยภาคบังคับตามกฎหมายและภาคสมัครใจ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกันตนตามภาคบังคับหรือภาคสมัครใจ เมื่อเลือกเป็นผู้ประกันตนแล้วและปฏิบัติครบตาม เงื่อนไข ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์จาก 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนประกันสั งคมและกองทุน เงินทดแทน ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันแล้วแต่กรณี โดยสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมที่ จะได้รับ ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 สามารถแบ่งได้หลัก ๆ 7 สิทธิ ดังนี้ 1) สิทธิกรณีเจ็บป่วย 2) สิทธิกรณีคลอดบุตร 3) สิทธิกรณีทุพพลภาพ 4) สิทธิกรณีเสียชีวิต 5) สิทธิกรณีชราภาพ 6) สิทธิกรณีว่างงาน 7) สิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร โดยในส่วนของแรงงานนอกระบบนั้น จะเข้าข่ายสามารถเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งหากสมัครใจเข้าเป็นผู้ประกันตน และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3