การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
44 บุคคลซึ่งเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ในมาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 เพื่อประโยชน์ ทดแทนในกรณีที่ผู้ประกันตนซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้เพิ่มอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน ซึ่งมีสิทธิที่จะได้รับสวัสดิการ ดังนี้ ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 70 บาท / เดือน จะได้สิทธิประโยชน์ พื้นฐาน 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 100 บาท / เดือน จะได้สิทธิประโยชน์ พื้นฐาน 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 300 บาท / เดือน จะได้สิทธิประโยชน์ พื้นฐาน 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) (บำนาญ) และกรณีสงเคราะห์บุตร (พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการ จ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไข แห่งสิทธิในการรับ ประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564, 2564) จากสถิติของระบบเตือนภัยด้านแรงงาน แจ้งว่าปี 2563 มีแรงงานนอกระบบที่ เป็นผู้กันตนเพียง 3,508,970 คน จากจำนวนแรงงานนอกระบบ 20.4 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 17.2 ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด (ระบบเตือนภัยด้านแรงงาน, 2564) 2.6.3.3 พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 กองทุนเงินทดแทน เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ภายใต้ การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ตั้งขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตราหรือเจ็บป่วยด้วยโรค อันเนื่องมาจากการทำงาน โดยในปีแรกการคุ้มครองจะครอบคลุมเฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แล้วจึงค่อยๆ ขยายความคุ้มครองออกไปจนครบทุกจังหวัด ในประเทศไทย ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2531 นับเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมไทย จวบจนกระทั่ง ได้มีการผลักดันพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้นมา ประเทศไทยจึงมีประกันสังคมเต็มรูปแบบโดยลูกจ้างได้รับความคุ้มครองทั้งในเรื่อง การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และตาย อันเนื่องมาจากการทำงานหรือไม่ก็ตาม รวม ไปถึงการคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เฉก เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ (กัณตินันท์ บุญยิ่ง, 2563) กฎหมายเงินทดแทนที่ใช้ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 เป็นกฎหมายแม่บทในการดำเนินงานเงินทดแทนของประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งกองทุนเงิน ทดแทนและจ่ายเงินทดแทนให้กับคนทำงานที่เจ็บป่วยเป็นโรคจากการทำงานหรือประสบอันตราย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3