การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

45 อันเนื่องมาจากการทำงาน พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มีวัตถุประสงค์ที่ต่างจาก พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 คือ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 จ่ายเงิน ทดแทนให้ผู้ประกันตนในกรณีที่ประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือตาย ที่ไม่ใช่สาเหตุอันเนื่องมาจากการ ทำงาน ส่วนพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 เป็นการจ่ายเงินทดแทนในกรณีที่ลูกจ้างประสบ อันตราย เจ็บป่วย สูญหาย หรือตาย อันเนื่องมาจากการทำงานให้นายจ้างหรือกิจการที่จ้าง รวมถึง การรักษาผลประโยชน์ให้นายจ้าง ดังนั้น พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 จึงเป็นการ กำหนดให้นายจ้างเท่านั้น เป็นผู้จ่ายเงินสมทบ (พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561, 2561) อย่างไรก็ตาม ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 เป็น พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ซึ่งได้มีการปรับปรุงในส่วนที่เป็นประโยชน์แก่ ลูกจ้าง คือ 1. กรณีเจ็บป่วยจนไม่สามารถทำงานได้ 1) ได้รับเงินชดเชยหยุดงานเพิ่มเป็นร้อยละ 70 จากเดิมร้อยละ 60 ของ ค่าจ้างรายเดือน โดยจะต้องมีใบรับรองแพทย์ระบุให้หยุดพักรักษาตัว และลูกจ้างหยุดพักรักษาตัวจริง ตามใบรับรองแพทย์ 2) ได้รับเงินชดเชยตั้งแต่วันแรกที่หยุดงาน จากเดิมจ่ายเฉพาะกรณีหยุดงาน 3 วันติดต่อกัน โดยจะได้รับเงินต่อเนื่องไม่เกิน 1 ปี 3) ลูกจ้างได้รับสิทธิค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยจากการทำงาน จนสิ้นสุด การรักษา 2. กรณีสูญเสียอวัยวะบางส่วน ได้รับเงินชดเชยเพิ่มเป็นร้อยละ 70 ของค่าจ้าง รายเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี 3. กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินชดเชยเพิ่มเป็นร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน โดย เพิ่มระยะเวลาจ่ายเงินทดแทน จากเดิมไม่เกิน 15 ปี เป็นไม่น้อยกว่า 15 ปี 4. กรณีเสียชีวิตหรือสูญหาย เพิ่มระยะเวลาจ่ายเงินทดแทนร้อยละ 70 ของ ค่าจ้างรายเดือนให้ผู้มีสิทธิ เป็น 10 ปี จากเดิม 8 ปี (SITTIPORN PHUKARO, 2019) จากพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 จะเห็นได้ว่ายังเป็นการ มอบสิทธิประโยชน์ให้กับแรงงาน ซึ่งเป็นแรงงานในระบบเท่านั้น แต่ก็ยังไม่มีการกล่าวถึงแรงงานนอก ระบบ ทำให้แรงงานนอกระบบยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการทำงานโดยไม่ได้รับการดูแลจาก ภาครัฐ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3