การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

46 2.6.3.4 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 หลักกฎหมายและวัตถุประสงค์การคุ้มครองแรงงาน ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายจัดระเบียบของสังคมการจ้างแรงงานและใช้แรงงาน มุ่งเน้น ให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายที่บัญญัติไว้ การไม่ปฏิบัติหรือฝ่าฝืนอาจได้รับโทษโดย มีเจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่ในการควบคุมกำกับดูแล แม้ลูกจ้างจะไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษพนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายสามารถเข้าไปควบคุมดำเนินการให้นายจ้างปฏิบัติตาม ระเบียบและหลักกฎหมายได้ (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541, 2541) หลักกฎหมายและวัตถุประสงค์การตรากฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย จึงกำหนดเงื่อนไขการจ้างไว้เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ ถูกเอาเปรียบและได้รับความปลอดภัยขณะทำงาน มีเวลาพักผ่อนที่เหมาะสม มีสวัสดิการ และได้รับ ค่าจ้างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด อันจะทำให้ลูกจ้างสามารถปฏิบัติงานที่จ้างได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีความหวังและมีความสุขในการทำงาน เกิดความสงบสุขและความเป็นธรรมในสังคม ส่วนลักษณะการจ้างแรงงาน การใช้สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างจะต้องปฏิบัติตามหลักของการจ้าง แรงงานแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เว้นแต่กฎหมายคุ้มครองแรงงานนี้จะกำหนดไว้เป็น อย่างอื่นๆ การคุ้มครองแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 วางหลักเกณฑ์ มาตรฐานขั้นต่ำใช้บังคับนายจ้างไว้เป็นบรรทัดฐานในเรื่องค่าจ้าง วันลา วันหยุดของลูกจ้าง หาก นายจ้างประสงค์จะกำหนดมาตรฐานขั้นสูงกว่าอัตราขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดย่อมทำได้ (อรุณี ไชยเสนา, 2563) โดยลักษณะสำคัญที่นายจ้างต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานคือการ ใช้แรงงานโดยเฉพาะแรงงานหญิง แรงงานเด็ก การให้ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ความ ปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นต้น ขอบเขตการคุ้มครองแรงงานตามพระราชบัญญัติ นี้ ให้ใช้บังคับแก่นายจ้างที่ประกอบกิจการธุรกิจ จะไม่ใช้แก่นายจ้างที่มีลูกจ้าง ดังนี้ 1) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่นเนื่องจากมี กฎหมายเฉพาะของตนเอง 2) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายแรงงาน ว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เนื่องจาก มีกฎหมายเฉพาะของตนเอง 3) นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียน เอกชน เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครูในโรงเรียน 4) นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน อันมิได้มีการประกอบธุรกิจ รวมอยู่ด้วย 5) นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกษตรกรรม เนื่องจากเป็นงานขึ้นอยู่กับดิน ฟ้า อากาศสิ่งแวดล้อม ไม่เหมือนกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3