การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

47 6) นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่รับไปทำที่บ้าน (พระราชบัญญัติคุ้มครอง แรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562, 2562) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ได้รับการปรับปรุงเพื่อยกระดับการคุ้มครอง ลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างที่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ มีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจะเป็นประโยชน์แก่ความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของประเทศ (ธาดา ราชกิจ, 2562) อย่างไรก็ตาม แม้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานทั้ง 2 ฉบับที่กล่าวมาจะมุ่งเน้น เพื่อสร้างความมั่นคงเกี่ยวกับการทำงาน และการดำเนินชีวิตให้กับแรงงาน แต่ก็ยัง ไม่ครอบคลุมถึง แรงงานนอกระบบ ซึ่งแรงงานนอกระบบในประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการถูกละเมิดสิทธิขั้น พื้นฐานของแรงงานหลายประการ ได้แก่ งานที่ทำขาดความมั่นคง ไม่ได้รับค่าตอบแทนแรงงานที่เป็น ธรรม งานที่ทำมีความเสี่ยงและมีอันตรายต่อสุขภาพ เข้าไม่ถึงกองทุนประกันสังคมและบริการอื่นๆ ของรัฐ ไม่สามารถใช้สิทธิในการรวมตัวต่อรอง และในขณะเดียวกันก็ไม่ได้มีกฎหมายเฉพาะที่จะ คุ้มครองแรงงานนอกระบบอย่างสมเหตุสมผลและเพียงพอ 2.6.3.5 พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานภาครัฐ ถูกตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีระบบการออมเพื่อการดำรงชีพใน ยามชราที่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะประชากรภาคแรงงาน ที่เป็นแรงงานนอกระบบซึ่ง ยังไม่ได้รับความคุ้มครอง ถือเป็นความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความยากจนเมื่อสูงวัย จากรายงานการ สำรวจของกองทุนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund, UNFPA) พบว่าใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยไทยนั้น มีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากเป็นอันดับสองรองจาก ประเทศสิงคโปร์ ประกอบกับลักษณะประชากรต่อครอบครัวมีจำนวนลดลง โดยสมาชิกเฉลี่ยต่อ ครัวเรือนลดลงจาก 4.8 คนในปี 2522 เหลือเพียง 2.5 คนต่อครัวเรือน ในปี 2552 และมีลักษณะเป็น ครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น อันเนื่องมาจากการมีบุตรน้อยลง จากรายงานการสำรวจผู้สูงอายุในประเทศ ไทย พ.ศ. 2550 พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 21.2 มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยั งชีพ (อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล, 2554 ) แสดงให้เห็นว่าประชากรไทยนั้นขาดระบบการควบคุมการออมเงินที่มี ประสิทธิผล ทำให้เมื่อถึงวัยเกษียณอายุมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญ ไทยปี 2540 ได้กำหนดให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือ จากภาครัฐ จึงทำให้เกิดนโยบายเกี่ยวกับการออมเงิน กองทุนการออมแห่งชาติจึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น โดยมี วัตถุประประสงค์เพื่อให้แรงงานนอกระบบมีเงินไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณอายุ ส่งเสริมการออมทรัพย์ของ สมาชิกและเพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ กองทุนการออมแห่งชาติจึงเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3