การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
49 เมื่อคำนวณแล้วเห็นว่า หากสมาชิกส่งเงินสะสมครบตามหลักเกณฑ์ เมื่อมีอายุ ครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำนาญตลอดชีพ ขั้นต่ำที่ 840 บาท / เดือน (ออมระยะสั้นเต็ม จำนวน 13,200 บาท / ปี เป็นระยะเวลา 10 ปี) และสูงสุดถึง 7,380 บาท / เดือน (ออมระยะยาว เต็มจำนวน 13,200 บาท/ปี ตั้งแต่อายุ 15 – 60 ปีบริบูรณ์) ส่วนคนที่ออมน้อยกว่าปีละ 13,200 บาท เป็นเวลาน้อยกว่า 10 ปี จะได้รับเงินเป็นรายเดือน จนกว่าเงินที่เก็บสะสมไว้จะหมด จากการศึกษาพบว่ากองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 เป็นสวัสดิการที่ สนับสนุนให้แรงงานนอกระบบมีแหล่งการออมเพื่อเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณ อย่างไรก็ตาม ยังมี ข้อจำกัดในการเข้าถึงคือแรงงานนอกระบบ จะต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ส่งเงินเพื่อได้รับผลประโยชน์ทดแทนยามชรา ดังนั้นเฉพาะผู้ประกันตน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ตามมาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 เท่านั้นที่จะได้รับสิทธิ ดังกล่าว 2.6.3.6 ร่าง “พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนอกระบบแห่งชาติ พ.ศ. ....” จากข้อมูลการรับฟั งความคิด เห็นป ระกอบการพิจารณ าจัดทำ “ร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนอกระบบแห่งชาติ พ.ศ. ….” ที่กล่าวถึงสภาพปัญหาและ ความจำเป็นที่ต้องตรากฎหมายนี้ ได้กล่าวว่าแรงงานนอกระบบเป็นกลุ่มแรงงานเป็นกำลังแรงงาน หลักของประเทศ ประกอบไปด้วยกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มเกษตรพันธสัญญา กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ (ขับรถรับจ้าง หาบเร่/แผงลอย บริการอิสระ และร้านขายของชำ) กลุ่มแรงงานในสถานบริการ (แรงงานในสถานบันเทิง แรงงานในสถานบริการเสริมสวยและบริการตัดผม) ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ ขั้นพื้นฐานในการทำงานหรือประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในการทำงาน หลักประกันทางสังคม ตลอดจนการรวมกลุ่ม รวมตัวเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้เกิดคว ามเป็นธรรมในการ จ้างงาน ทั้งนี้ แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ เป็นแรงงานด้อยโอกาส จบการศึกษาภาคบังคับ ฐานะ ยากจน ไม่มีนายจ้างหรือผู้ว่าจ้างที่แน่นอน สวัสดิการที่แรงงานกลุ่มนี้ได้รับเป็นเพียงสวัสดิการขั้น พื้นฐานที่รัฐจัดให้ในฐานะพลเมืองเท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้แรงงานนอกระบบในฐานะกำลังแรงงานที่มี ส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพชีวิต ให้เหมาะสม จึงจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คุ้มครองผู้ทำงานซึ่งเป็น กลุ่มแรงงานนอกระบบ (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กองนิติการ, 2562) จึงได้มีการ “ร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนอกระบบแห่งชาติ พ.ศ. ….” ซึ่งมีสาระสำคัญที่เกี่ยวกับ แรงงานนอกระบบ ในด้านต่างๆ ดังนี้ 1) ด้านสิทธิประโยชน์ในการได้รับความคุ้มครองจากการทำสัญญาหรือทำการ ตกลง โดยไม่ตัดสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับการส่งเสริมหรือการพัฒนา (มาตรา 5)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3