การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
50 2) การส่งเสริมและการพัฒนาแรงงานนอกระบบเพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม ความสามารถในการประกอบอาชีพ การสร้างรายได้ ตลอดจนการพัฒนาให้มี ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน สุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีของแรงงาน นอกระบบ จะต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบ สถานประกอบกิจการ ผู้ประกอบการ องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง องค์กรพัฒนาเอกชน ประชาสังคม ภาครัฐ และทุกภาค ส่วนที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 7) 3) ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศ กำหนดมาตรฐานอาชีพ กำหนดมาตรฐาน รายได้ เวลาการทำงาน วันหยุด สภาพการทำงานอื่น มาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงานหรือการประกอบอาชีพและพัฒนาสมรรถนะด้านอาชีพ เพื่อส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิติแรงงานนอกระบบ (มาตรา 8 และมาตรา 9) 4) แรงงานนอกระบบมีสิทธิได้รับและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการประกอบ อาชีพ ตำแหน่งงานว่าง การส่งเสริมการมีงานทำ การพัฒนาอาชีพ สิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคม สิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงาน การรักษาพยาบาลทางการแพทย์ การ ส่งเสริมการออม และอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อแรงงานนอกระบบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (มาตรา 10) 5) แรงงานนอกระบบมีสิทธิยื่นขอขึ้นทะเบียน โดยกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน และส่วนภูมิภาคให้ยื่นต่อสำนักงานแรงงานจังหวัดที่แรงงานนอก ระบบมีภูมิลำเนาหรือประกอบอาชีพอยู่ (มาตรา 11) โดยแรงงานนอกระบบตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป มีสิทธิรวมกลุ่มตามลักษณะของอาชีพเพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ โดยยื่น คำขอจัดตั้งองค์กรแรงงานนอกระบบได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนด (มาตรา 12) 6) แรงงานนอกระบบที่รวมกลุ่มตามลักษณะอาชีพตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปเป็น องค์กรแรงงานนอกระบบ มีสิทธิ ดังนี้ 6.1 เสนอแนะความคิดเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณาเพื่อให้หน่วยงานของ รัฐจัดให้มีการส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพ การส่งเสริมการทำงาน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ 6.2 เข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ สวัสดิการ และบริการ ทางสังคม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3