การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
52 กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มีการ กำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ ในมาตรา 16 (1) ได้มีการกำหนดให้ เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของ ตนเอง และ (31) สามารถที่จะดำเนินกิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่ คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประประชาชน ในท้องถิ่นของตนเอง มาตรา 17 (1) ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและ ประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และ (29) สามารถที่จะดำเนินกิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และมาตรา 18 ให้กรุงเทพมหานครมี อำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนตามมาตรา 16 และ มาตรา 17 โดยมีคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีอำนาจและ หน้าที่ตามมาตรา 12 ในการกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจจากราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาคให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงประสานการถ่ายโอนข้าราชการ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และพนักงานรัฐวิสาหกิจระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นกับคณะกรรมการ พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ การจัดสรรภาษีและอากร เงินอุดหนุน เงินงบประมาณส่วนกลางที่ ราชการส่วนกลางโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการถ่ายโอนภารกิจต่างๆ รวมไปถึง สามารถเสนอแนะการตราพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ออกกฎกระทรวง ประกาศ ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งที่จำเป็นเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นต่อคณะรัฐมนตรี (พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542, 2542) 2.6.3.8 กฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริหารส่วนท้องถิ่น การปกครองส่วนท้องถิ่นคือหน่วยงานปกครองที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน มากที่สุดรูปแบบหนึ่ง โดยปกติการปกครองส่วนท้องถิ่นจะเปิดโอกาสให้ประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้นๆ เลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้บริหารท้องถิ่น หรือเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นเพื่อเลือก ผู้บริหารท้องถิ่นอีกทีหนึ่ง (เรียกว่าการเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมตามลำดับ) องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นจะมีอำนาจอิสระ (autonomy) ในการบริหารจากรัฐได้ในระดับหนึ่งตามขอบเขตที่กฎหมาย กำหนด (ชานนท์ ทองสุกมาก, 2563) การปกครองท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันมีหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไปตามความ เหมาะสมกับสภาพของแต่ละท้องถิ่น ประกอบกับการพัฒนาของประเทศได้ทำให้ท้องถิ่นมีความเจริญ ขึ้นเป็นลำดับ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3