การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
53 เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของ ประชาชนในท้องถิ่นและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองตนเองให้มากที่สุด อันเป็นเป้าหมายสำคัญของการกระจายอำนาจการปกครอง ซึ่งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีกฎหมายแบ่งออกเป็น 5 ฉบับ ดังนี้ 1) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 2) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 3) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 4) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 5) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 โดยกฎหมายทั้ง 5 ฉบับ ได้กำหนดให้มีอำนาจในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ประกาศ หรือระเบียบ เพื่อควบคุมการใช้อำนาจให้อยู่ภายในขอบเขต 2.6.3.9 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ที่ส่งเสริม สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นและหน่วยงานต่างๆ ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ เป็นองค์กร แห่งการบริการสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน (กรมการ ส่งเสริมการปกครอง, 2565) โดยมีกฎหมายกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วน จังหวัดไว้ในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 หมวดที่ 4 ว่าด้วยเรื่องอำนาจ หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ การให้อำนาจในการตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดแย้งต่อ กฎหมาย การจัดทำแผนการพัฒนา ให้การสนับสนุนราชการส่วนท้องถิ่นอื่นเพื่อพัฒนาท้องถิ่น การ ประสานงานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น การให้ความ ช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลการจราจรและรักษาความสงบเรียบร้อย การคุ้มครองดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมอันดี ของท้องถิ่น การจัดการส่งเสริมสนับสนุนเกี่ยวกับการศึกษารวมถึงการส่งเสริมพัฒนาเด็กเล็ก ตลอดจนการปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามที่ กฎกระทรวงกำหนด (มาตรา 45) (พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540, 2540) 2.6.3.10 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 เทศบาล เป็นการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่งของไทย ตามหลักการกระจายอำนาจ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ซึ่งได้กำหนดให้การจัดตั้ง การเปลี่ยนชื่อ การ เปลี่ยนแปลงเขต หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะของเทศบาล ให้กระทำเป็นพระราชกฤษฎีกา เทศบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3