การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

54 อย่างไรก็ตามเทศบาลทั้ง 3 ระดับ มีโครงสร้างเหมือนกัน ประกอบด้วย สภาเทศบาล (ซึ่งสมาชิกมา จากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตเทศบาลนั้น) และคณะเทศมนตรี (นายกเทศมนตรีและเทศมนตรี อีกจำนวนหนึ่ง) จะแตกต่างกันก็เฉพาะที่ตั้งหรือจำนวนประชากรเท่านั้น (เทศบาลดงหลวง, 2565) เทศบาล มีกฎหมายกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ส่วนที่ 3 หน้าที่ของเทศบาล โดยแบ่งเป็นหน้าที่ของเทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร ดังนี้ 1) เทศบาลตำบล มีบทบาทมีหน้าที่ต้องทำเกี่ยวกับการรักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน การส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานอื่นในการดูแลการจราจร การบำรุงดูแล รักษาทั้งทางบกและทางน้ำ การรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน ที่สาธารณะ การกำจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอยต่างๆ การป้องกันระงับโรคติดต่อ การป้องกันอัคคีภัยตลอดจนจัดให้มีเครื่องมือเกี่ยวกับ การดับเพลิง การส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน การ พัฒนาเด็กเล็ก สตรี เยาวชน ผู้พิการ การบำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ท้องถิ่น ตลอดจนหน้าที่อื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล (มาตรา 50) โดยการ ปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา เทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ต้องให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ กระทรวงมหาดไทยกำหนด 2) เทศบาลเมือง มีบทบาทหน้าที่เช่นเดียวกันกับเทศบาลตำบล แต่เนื่องจาก จากมีประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่เกินกว่า 10,000 คน ประกอบกับการมีรายได้ที่มากขึ้นจึงเพียงพอให้ มีการจัดกิจการต่างๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยเทศบาลเมืองต้องจัดให้มีแหล่งน้ำสะอาดหรือ การประปา มีโรงฆ่าสัตว์ มีสถานที่สำหรับการรักษาคนเจ็บป่วย การบำรุงทางระบายน้ำ การบำรุงส้วม สาธารณะ การบำรุงเกี่ยวกับการไฟฟ้าหรือแสงสว่าง โรงรับจำนำ ตลอดจนการจัดระเบียบด้าน การจราจร (มาตรา 53) 3) เทศบาลนคร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยเกิดนกว่า 50,000 คน ซึ่งเป็นการบริหารพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเทศบาลตำบลและเทศบาลเมือง ดังนั้นลักษณะของ บทบาทหน้าที่จึงไม่แตกต่างเทศบาลในลำดับรอง นอกจากนั้นในเขตพื้นที่ดูแลของเทศบาลนคร ยังมี บทบาทหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติเพิ่ม คือการจัดให้มีสถานบำรุงการสงเคราะห์มารดา กิจการต่างๆ เกี่ยวการ สาธารณะสุข การควบคุมสุขลักษณะอนามัยของร้านอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการ การจัดการ เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและแหล่งเสื่อมโทรม การจัดให้มีการควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอด รถ การจัดการผังเมือง การควบคุมการก่อสร้างตลอดจนการส่งเสริมการท่องเที่ยว (มาตรา 56) (พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496, 2496)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3