การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
59 สุขของภาครัฐ การดูแลสุขภาพทั้งในเชิงส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพ ยังขาดการเอาใจใส่อย่าง ต่อเนื่องทั้งจากแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนระบบสวัสดิการนับเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความเป็น จริงในชีวิตของแรงงาน แม้ว่าแรงงานกำลังประสบกับปัญหาต่างๆ ทั้งจากระบบการจ้างงาน สภาพ การทำงาน หรือในวิถีชีวิตประจำวัน แรงงานส่วนใหญ่ก็ยังขาดการดูแลจากหน่วยงานหรือองค์กร ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ความมั่นคงเรื่องการจ้างงานและรายได้นับเป็นปัญหาที่กำลังคุกคามคุณภาพชีวิต ของแรงงานและครอบครัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมและความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งในระดับ ชุมชนและประเทศชาติ การมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ในการพัฒนาแรงงานนอกระบบ จะพบว่ากลุ่ม แรงงานหรือองค์กรในระดับชุมชนจะมีบทบาทในการพัฒนาเป็นอย่างมาก ส่วนภาคีอื่นๆ ยังมีรูปแบบ การพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับปัญหาแรงงานหรือเป็นการแสวงหาผลประโยชน์บางประการจากแรงงาน ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ นอกจากการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา ตนเองทั้งด้านสุขภาพและสังคมแล้ว จำเป็นต้องกำหนดบทบาท ภารกิจแก่เครือข่ายแรงงานและ องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการใหเกิดความ เข้าใจในวิถีชีวิต (สุวิท อิน นามมา, 2553) วิชัย โถสุวรรณจินดา กล่าวว่า การคุ้มครองแรงงานนอกระบบที่ผ่านมาและงานวิจัยเกี่ยวกับ แรงงานนอกระบบในช่วงปี 2546-2559 พบว่ารัฐได้ออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานนอกระบบแล้ว ใน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรงงานรับจ้างในงานเกษตรกรรม กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้าน และกลุ่มแรงงานที่รับ งานไปทำที่บ้าน ซึ่งยังไม่เพียงพอ เนื่องจากไม่สามารถแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบได้อย่างจริงจัง นอกจากนั้น ยังมีแรงงานนอกระบบอีกหลายกลุ่มที่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง เช่น กลุ่มแรงงานใน สถานบริการ กลุ่มแรงงานที่ทำงานบางช่วงเวลา และกลุ่มอาชีพอิสระ เป็นต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มมีปัญหา และความต้องการในการคุ้มครองที่แตกต่างกัน แรงงานนอกระบบเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง แรงงานตามปกติและมีปัญหาความไม่มั่นคงในการจ้างงาน การขาดโอกาสในการพัฒนาอาชีพในการ ทำงาน การขาดความปลอดภัย การขาดโอกาสได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ การขาดความ มั่นคงของรายได้ และการขาดโอกาสจัดตั้งองค์การที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายเพื่อให้มีผู้แทนใน การเจรจาต่อรอง รัฐบาลจึงต้องเข้ามาให้การคุ้มครองแรงงานนอกระบบ โดยการออกกฎหมาย คุ้มครองให้สอดคล้องกับปัญหาของแรงงานนอกระบบ ทั้งส่วนที่มีกฎหมายคุ้มครองอยู่บ้างแล้ว และ ส่วนที่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง โดยเฉพาะแรงงานในสถานบริการ แรงงานที่ทำงานไม่เต็มเวลา ลูกจ้าง ในกิจการขนาดเล็ก และลูกจ้างในกิจการอิสระ นอกจากการคุ้มครองแรงงานแล้ว รัฐบาลควรจัดให้ แรงงานนอกระบบได้เข้าสู่การคุ้มครองของระบบประกันสังคมโดยได้สิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับ แรงงานในระบบ ทั้งนี้ รัฐบาลควรมีส่วนจ่ายเงินสมทบในสัดส่วนที่เท่ากับแรงงานนอกระบบ และให้ แรงงานนอกระบบได้มีโอกาสจัดตั้งองค์การของตัวเองเพื่อให้มีผู้แทนในการเจรจาต่อรองและเพื่อเสริม ความมั่นคงให้กับแรงงานนอกระบบกลุ่มต่างๆ ด้วย (วิชัย โถสุวรรณจินดา, 2552)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3