การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

60 สดุดี สินไชย กล่าวว่า แรงงานนนอกระบบที่ถูกต้องตามกฎหมายกลุ่มอาชีพไค โยตี้ ที่มีการ ทำงานรับจ้างและมีรายได้ หรือกลุ่มผู้ทำงานในระบบการจัดการบุคคลอื่น มีอิสระที่จะทำงานเมื่อใด และอย่างใดก็ได้ รายได้จะเกิดจากการขายหรือบริการ เช่น ผู้รับสินค้าไปเร่ขาย ช่างตัดผม หมอนวด แผนโบราณประจำร้าน หมอนวดในสถานบริการ อาบ อบนวด เป็นต้น ซึ่งมิได้มีการสนับสนุนให้เกิด ความเป็นธรรมในการใช้แรงงานแต่อย่างใด และการคุ้มครองแรงงานนอกระบบขององค์กรแรงงาน ระหว่างประเทศ (ILO) และกฎหมายต่างประเทศต่างให้การรับรองและคุ้มครองแรงงานนอกระบบใน ลักษณะของคนทำงาน (Workers) ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าคำว่า “ลูกจ้าง” (Employee) ที่ต้องเกิด จากสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น ดังนั้น การเยียวยาปัญหาตามข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายสนับสนุน คุ้มครองผู้ใช้แรงงานกลุ่มอาชีพไคโยตี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบังคับใช้อันจะส่งผลดี ต่อผู้เกี่ยวข้องธุรกิจสถานบริการ รวมถึงคุ้มครองผู้ใช้แรงงานในสถานบริการ อันเป็นกฎหมายที่มี มาตรฐานเดียวกัน สามารถใช้บังคับได้กับผู้ใช้แรงงานในสถานบริการทั่วไปโดยมีบทกำหนดในเรื่อง ค่าจ้างวันหยุด ค่าตอบแทน ความปลอดภัย สุขภาพ อนามัยและสวัสดิการ เป็นการเฉพาะ (สดุดี สินไชย, 2550) จากงานวิจัยทั้ง 4 เรื่องดังกล่าว เห็นได้ว่าเป็นการศึกษาถึงปัญหาภาพรวมของแรงงานนอก ระบบ การกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ภาคีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับแรงงานนอก ระบบ การส่งเสริมเชิงนโยบายให้หน่วยงานภาครัฐเข้าไปสนับสนุน ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่แรงงาน นอกระบบ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการออกกฎหมายที่เป็นมาตรฐานเดียวกันใช้บังคับแก่แรงงานทุก ประเภท แต่มิได้เป็นการศึกษาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ : หาบเร่ แผงลอย เกี่ยวกับหลักประกันในการดำรงชีวิต รวมถึงอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น วรรณกรรมที่ได้ทบทวนในบทนี้ ผู้วิจัยนำไปใช้เป็นข้อมูลเอกสารเพื่อประกอบการวิเคราะห์ตาม ประเด็นที่กำหนดไว้ในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ : หาบเร่ แผงลอย ต่อไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3