การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาคำตอบอันเป็นเป้าหมายหลัก คือ การเข้าถึงสิทธิ ขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ : หาบเร่ แผงลอย ซึ่งเป็นการศึกษาปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ของแรงงานนอกระบบที่มีความเหลื่อมล้ำกับแรงงานในระบบ หรือแรงงานในระบบบางประเภทที่มี การตรากฎหมายรับรองแล้ว โดยคำตอบดังกล่าวจะมาจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตาม วิธีการวิจัย (Research Methodology) ที่กำหนดไว้ ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ หาคำตอบ จึงได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัย เอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการวิจัยมี วัตถุประสงค์ที่จะนำมาวิเคราะห์ ปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบกลุ่ม หาบเร่ แผงลอย และอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างหลักประกันสังคมส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ ให้มีหลักประกันสังคมและเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐ ในฐานะที่เป็นพลเมืองของประเทศ 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร โดยกำหนดประเภทของเอกสารและประเด็นที่ต้องใช้ ในการวิเคราะห์ คือ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 พระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน พศ. 2537 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 “ร่างพะราชบัญญัติส่งเสริมและการ พัฒนาแรงงานนนอกระบบแห่งชาติ พ.ศ. ….” พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น การ คุ้มครองแรงงานในต่างประเทศ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะของการทบทวนวรรณกรรมที่ เป็นแนวคิด ทฤษฎีและหลักการ รวมทั้งรายงานการวิจัย ตำราและบทความทั้งของไทยและ ต่างประเทศ ข้อมูลเอกสารที่ได้มามีทั้งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย เอกสารที่ ทบทวนและวิเคราะห์นั้น ได้กำหนดประเด็นหัวข้อ ดังนี้ 3.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบ ประกอบด้วย - แนวคิดด้านรัฐสวัสดิการ - แนวคิดการคุ้มครองทางสังคม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3