การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทที่ 4 ผลการวิจัย ประเทศไทย มีแรงงานที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยแรงงาน ภายในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มแรงงานในระบบ และกลุ่มแรงงานนอก ระบบ ซึ่งกลุ่มแรงงานในระบบมีระบบประกันสังคมเพื่อคุ้มครองสิทธิของแรงงานตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขณะที่แรงงานนอกระบบยังไม่มีกฎหมายรองรับ มีเพียง “ร่าง พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนอกระบบแห่งชาติ พ.ศ. ….” ให้ความคุ้มครองสิทธิกลุ่ม หาบเร่ แผงลอย ในการทำงานหรือการประกอบอาชีพ การกำหนดรายได้ขั้นต่ำ ให้สามารถเข้าถึงสิทธิ ขั้นพื้นฐาน ให้มีหลักประกันทางสังคมและลดความเหลื่อมล้ำ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี อำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนนอกระบบ ตามมาตรา 15 แต่ร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าวยังมิได้มีการประกาศใช้บังคับ ประกอบกับไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงานนอกระบบอย่าง เป็นรูปธรรม จึงไม่เป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่รองรับไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และไม่เป็นเป็นไปตามข้อเสนอแนะฉบับที่ 204 ว่าด้วยการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจ นอกระบบเป็นในระบบขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่ให้การเคารพต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน ของคนทำงาน เพื่อสร้างโอกาสการสร้างความมั่นคงทางรายได้และหลักประกันทางสังคมอย่างยั่งยืน แก่แรงงานนอกระบบ ข้อเสนอแนะดังกล่าวได้กำหนดไว้สอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงาน ระหว่างประเทศ ฉบับที่ 102 ที่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการประกันสังคมไว้ โดยประเทศสมาชิกที่ ให้สัตยาบันจะต้องปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานอย่างเท่าเทียมกัน การศึกษามีวัตถุประสงค์วิเคราะห์เพื่อหาคำตอบ ให้แรงงานนนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างรายได้ การมีงานทำ การประกอบชีพ รวมถึง หลักประกันทางสังคมและลดความเหลื่อมล้ำระหว่างแรงงานในระบบกับแรงงานนอกระบบ การ วิเคราะห์ได้ใช้ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยนำ ผลการวิเคราะห์ไปสู่การปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมกฎหมายท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย ให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ได้กำหนด ประเด็นที่วิเคราะห์ ดังนี้ 4.1 การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบกลุ่ม หาบเร่ แผงลอย แรงงานภายในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มแรงงานในระบบและกลุ่ม แรงงานนอกระบบ ซึ่งกลุ่มแรงงานในระบบ ได้รับสวัสดิการทางสังคมและสิทธิประโยชน์ตาม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3