การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
69 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 และ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ตามสัญญาจ้างประมวลกฎหมาแพ่งและพาณิชย์ ขณะที่ แรงงานนอกระบบไม่มีกฎหมายใดรองรับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการสังคมอย่างชัดเจนเหมือนกับ แรงงานในระบบ ซึ่งขัดกับแนวคิดหลักความเสมอภาคที่ว่าบุคคลย่อมเสมอภาคกันในทางกฎหมาย และควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันบนเงื่อนไขเดียวกัน จากการศึกษาพบว่าแรงงานนอกระบบ ประสบปัญหาในเรื่องของความยากจน มีค่าใช้จ่าย ในการดำรงชีพต่ำกว่าเส้นความยากจน (ต่ำกว่า 2,762 บาทต่อคนต่อเดือน) ซึ่งสูงถึงร้อยละ 6.84 ของประชากรแรงงาน หรือประมาณ 4.8 ล้านคน มีการศึกษาเพียงขั้นพื้นฐานที่ภาครัฐบังคับ ทำให้ไม่ มีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากนัก จึงต้องทำงานหนักแต่ได้ค่าตอบแทนน้อย ประกอบกับ กระแสโลกาภิวัตน์ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้ประกอบการลดต้นทุนโดยจ้างงานผู้มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะเพื่อทำงาน ทำให้แรงงานไร้ฝีมือจำนวนมากตกงานและหันมาประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอย ก่อให้เกิดการขยายตัวทางการค้าประเภทกลุ่มหาบเร่ แผงลอยเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความผันผวนของ รายได้เนื่องมาจากการแข่งขันด้านการค้าระหว่างแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย และความ ไม่มั่นคงในด้านต่างๆ นอกจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น พบว่าบทบาทที่ขัดแย้งของหน่วยงานภาครัฐยังส่งผลกระทบ ต่อแรงงานนอกระบบกลุ่มหาบเร่ แผงลอย คือ ด้านหนึ่งหน่วยงานภาครัฐมีการส่งเสริมอาชีพให้กับ ประชาชน มีการกำกับดูแลการค้าบริเวณพื้นที่สาธารณะให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่อีกด้าน หนึ่งกลับถูกจำกัดทางด้านโอกาสและการพัฒนา อันเนื่องมากจากนโยบายการจัดระเบียบทางสังคม การบริหารจัดการจากหน่วยงานทางภาครัฐเอง มีการกีดกัน และการไล่รื้อ ทำให้ในบางครั้ง แรงงาน นอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย ต้องพบกับความยากลำบากในการประกอบอาชีพ เนื่องจากความ ขัดแย้งจากการใช้พื้นที่สาธารณะของกลุ่มผู้ประกอบชีพหาบเร่ แผงลอย เมื่อถูกไล่รื้อหรือสั่งห้ามไม่ให้ มีการค้าในบริเวณใดๆ ที่ทางภาครัฐกำหนด จะทำให้แรงงานนอกระบบกลุ่มหาบเร่ แผงลอย สูญเสีย รายได้เนื่องมาจากการไม่สามารถค้าขายได้ กรณีดังกล่าว ผู้ประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอย จะไม่ สามารถได้รับการชดเชยจากการไม่สามารถประกอบอาชีพได้ เช่นเดียวกับแรงงานในระบบที่เมื่อถูก ให้ออกจากงานจะมีเงินชดเชยกรณีว่างงานให้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อดำรงชีพในระหว่างหางานใหม่ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ปัญหาเรื่องความยากจนของแรงงานนอกระบบ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้น พื้นฐานในการเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานด้านต่างๆ แรงงานนอกระบบได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ให้สิทธิการรักษาพยาบาลกับผู้ที่มีสัญชาติไทยในการรักษาพยาบาลและการคลอดบุตร โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 53.8 ของแรงงานทั้งประเทศ ต้องพึ่งพาสิทธิจาก หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) แตกต่างจากแรงงานในระบบที่มีสิทธิสวัสดิการรองรับจาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3