การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
70 ประกันสังคม ที่ได้รับสิทธิสวัสดิการ 7 กรณี ได้แก่ 1) กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ไม่ เกี่ยวกับการทำงาน 2) กรณีคลอดบุตร 3) กรณีทุพพลภาพ 4) กรณีตาย 5) กรณีสงเคราะห์บุตร 6) กรณีชราภาพ 7) กรณีว่างงาน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มแรงงานนนอกระบบนั้น ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานที่เป็นสวัสดิการแตกต่างจาก แรงงานในระบบ ทำให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของสิทธิขั้นพื้นฐานของสังคมไทย เสมือนกับการเลือก ปฏิบัติกับกลุ่มแรงงาน ซึ่งขัดต่อแนวคิดการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนในประเทศพึง ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านสาธารณะสุข การประกันสังคม ประกันสุขภาพ การศึกษา ความมั่นคง ทางรายได้ รวมถึงการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาด้านต่างๆ นอกจากนี้ยังขัดกับหลักความเสมอภาคที่ ได้รองรับสิทธิไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 สิทธิและเสรีภาพ ของบุคคลต้องได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน และมาตรา 74 ว่า “รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนมี ความสามารถในการทำงานอย่างเหมาะสมกับศักยภาพและวัยและให้มีงานทำ และพึงคุ้มครองผู้ใช้ แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดีในการทำงาน ได้รับรายได้ สวัสดิการ การ ประกันสังคม และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพ และพึงจัดให้มีหรือส่งเสริมการออม เพื่อการดำรงชีพเมื่อพ้นวัยทำงาน” จากที่กล่าวมา แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่นั้นมีฐานะยากจน จบการศึกษาเพียงภาคบังคับ สวัสดิการที่ได้รับมีไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพได้อย่างปกติในสังคม แรงงานนอกระบบนั้นมีเพียงสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งเป็นสิทธิ สวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนในประเทศพึงได้รับอยู่แล้ว ตามหลักการคุ้มครองทางสังคม ต่างจากแรงงานในระบบที่มีระบบสวัสดิการจากระบบประกันสังคมคอยรองรับส่งผลให้เกิดความ มั่นคงในชีวิตและเป็นหลักประกันให้กับแรงงานในระบบ ขณะที่แรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย ยังขาดหลักประกันและความมั่นคงในชีวิตการทำงาน ทั้งที่เป็นแรงงานที่คอยขับเคลื่อน เศรษฐกิจให้กับประเทศไม่แตกต่างยิ่งหย่อนไปกว่าแรงงานในระบบ อย่างไรก็ตาม แรงงานนอกระบบผู้ประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอยนั้นจำเป็นต้องอาศัยบริบท ด้านพื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งหากเป็นพื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้ของภาคเอกชนมักจะไม่มีปัญหาด้านพื้นที่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ถูกจัดไว้สำหรับการค้าขาย แต่หากเป็นพื้นที่สาธารณะ เช่น ทางเท้า ริมถนน การ ขับขี่ยานพาหนะไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อประกอบการค้า จะประสบปัญหา คือการรบกวนการใช้พื้นที่ สาธารณะของบุคคลอื่น เนื่องจากพื้นที่ทางเท้า พื้นที่ริมถนน ถูกมองมองว่ามีไว้สำหรับการสัญจรของ ประชาชนไม่ใช่มีไว้สำหรับการค้าขายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง นอกจากนี้อาจมีความเสี่ยงจากการเกิด อุบัติเหตุจากการสัญจรไปมาบนถนน รวมถึงการกระทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว เช่น การค้าขายใน พื้นที่ห้ามขาย แสดงให้เห็นว่า นโยบายการบริหารจัดการการของหน่วยงานภาครัฐด้านความเหลื่อม ล้ำของสวัสดิการทางสังคม อาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่พยายามบีบให้แรงงานนอกระบบพยายาม ปรับตัวเข้าสู่การเป็นแรงงานในระบบ เพื่อให้สามารถได้รับสวัสดิการสังคมที่เท่าเทียมกับแรงงาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3