การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
72 เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนดและรัฐเป็นผู้จ่ายเงินสมทบให้ ขณะที่บุคคลทั่วไปที่มี ความประสงค์จะเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 มีเงื่อนไขที่ว่าบุคคลนั้นต้องมิใช่ผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 จึงจะสมัครเพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ที่กำหนดไว้ โดย ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานประกันสังคมและส่งเบี้ยประกันเองและรัฐจ่ายเงินสมทบให้ เช่นเดียวกัน แสดงให้เห็นว่า แรงงานในระบบที่เป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เปิดช่องให้ทุกคนสามารถเป็นผู้ประกันตนได้ทั้งโดยภาคบังคับมาตรา 33 และภาคสมัครใจ มาตรา 39 ส่งผลให้ผู้ประกันตนทั้ง 2 ประเภทได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม และ กองทุนเงินทดแทนที่แตกต่างกันแล้วแต่กรณีตามมาตรา 54 โดยได้รับสิทธิกรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ ว่างงาน และสงเคราะห์บุตร ส่วนแรงงานนอกระบบจะได้รับสิทธิ ประโยชน์เมื่อได้สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขโดยสามารถเลือกสมัครได้ตามประเภทที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข แห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ซึ่งได้จำแนกสิทธิประโยชน์เป็น 3 ทางเลือก ดังนี้ ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 70 บาท / เดือน จะได้สิทธิประโยชน์พื้นฐาน 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 100 บาท / เดือน จะได้สิทธิประโยชน์พื้นฐาน 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 300 บาท / เดือน จะได้สิทธิประโยชน์พื้นฐาน 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ (เงินบำเหน็จ) (บำนาญ) และกรณีสงเคราะห์บุตร เห็นได้ว่าผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้รับสิทธิประโยชน์ทั้ง 3 ทางเลือกประกอบด้วย สิทธิประโยชน์ 4 กรณี กล่าวคือ สิทธิเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ซึ่งสิทธิประโยชน์ ที่ได้รับมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้ 1) กรณีเจ็บป่วย ผู้ประกันตนทั้ง 3 ทางเลือก จะได้รับสิทธิรักษาพยาบาลจากหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) หากนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จะได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้ วันละ 300 บาท หากไม่นอนพักรักษาตัวแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จะได้รับ เงินชดเชยการขาดรายได้วันละ 200 บาท โดยทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2 ได้รับเงินชดเชย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3