การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
75 ยุ่งยาก ตั้งแต่การสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนจนกระทั่งการเบิกจ่าย มีกระบวนการที่ซับซ้อนและ ใช้ระยะเวลานาน ขณะที่บางส่วนเห็นว่า ควรเข้าเป็นผู้ประกันตน เนื่องจากเป็นหลักประกันในอนาคต ที่สามารถทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างไม่ลำบาก แต่สาเหตุที่ยังไม่ได้สมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เนื่องมาจากปัญหาเรื่องปากท้องของสมาชิกในครอบครัวที่ต้องหากินหาใช้ให้เพียงพอในแต่ละวัน มีความสำคัญมากกว่าที่จะต้องมาคิดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง นอกจากนี้ ยังให้เหตุผลว่าการติดต่อหน่วยงาน ราชการมีความยุ่งยาก ใช้ระยะเวลานาน จึงไม่ต้องการเข้าเป็นผู้ประกันตน จากข้อมูลการสัมภาษณ์ดังกล่าวข้างต้นในส่วนของแรงงานนอกระบบที่สมัครใจเข้าเป็น ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และไม่ได้เป็นผู้ประกันตน พบว่า ความต้องการเข้าเป็นผู้ประกันตน หรือไม่ต้องการเข้าเป็นผู้ประกันตน ของแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย ประกอบไปด้วย ปัจจัยหลายอย่าง โดยเห็นว่าสวัสดิการที่ได้รับเมื่อสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนแล้ว ไม่คุ้มค่า รู้สึกว่ามี ความเหลื่อมล้ำกับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ปัญหาเรื่องปากท้องของสมาชิกในครอบครัวที่ต้องกิน ต้องใช้ในแต่ละวัน ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูลสวัสดิการ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกที่มีความยุ่งยาก และ ใช้ระยะเวลานาน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้แรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย บางกลุ่มเลือกที่จะไม่ เข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สะท้อนให้เห็นความต้องการของแรงงานนอกระบบนั้นสอดคล้อง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 ในเรื่องการเปิดช่องว่างการคุ้มครอง ทางสังคมในประเทศไทย ตลอดถึงการลดความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มประชากร ความ แตกต่างของคุณภาพการบริการภาครัฐ การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 กำหนดให้บุคคลย่อม เสมอภาคกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ดังนั้น รัฐควรให้การสนับสนุนในเรื่องที่เกี่ยวกับการว่างงานและสงเคราะห์บุตรของแรงงานนอกระบบ เมื่อพิจารณาหลักการปฏิบัติขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่วางมาตรฐานขั้นต่ำของการ ประกันสังคมเอาไว้ครอบคลุมถึงเรื่อง การรักษาพยาบาล การเจ็บป่วย การว่างงาน วัยชรา การ บาดเจ็บในงาน ครอบครัว การคลอดบุตร การไร้สมรรถภาพ และผลประประโยชน์ของผู้ที่ยังมีชีวิต เช่น หญิงม่ายหรือเด็กกำพร้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักสากลที่เป็นมาตรฐานและหลายประเทศให้การ ยอมรับ สะท้อนให้เห็นว่าหลักการปฏิบัติขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO) ให้ความสำคัญ และคุ้มครองสิทธิการว่างงาน หากพิจารณาถึงสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่เป็นสมาชิกภาคีองค์การ แรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มีการให้สวัสดิการทางสังคมแก่ประชากรภายในประเทศในรูปแบบ ของรัฐสวัสดิการ ตามกฎหมาย Sozialgesetzbuch (SGB) Viertes Buch (IV) (23 Dezember
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3