การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
76 1976) ได้ให้ความสำคัญกับการว่างงานของแรงงานแม้จะเป็นแรงงานที่ประกอบอาชีพอิสระก็ตาม รวมถึงสวัสดิการเกี่ยวกับเยาวชนในสหพันธ์สาธารณะรัฐเยอรมนี กฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะถึงสิทธิที่ ควรจะได้รับ ซึ่งครอบคลุมไปถึงการช่วยเหลือการฝึกอาชีพ รายได้จากการฝึกอาชีพ ก่อนที่จะบรรลุ นิติภาวะตามกฎหมาย แสดงให้เห็นว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีไม่มีการแบ่งแยกรูปแบบของ สวัสดิการของแรงงานไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบหรือแรงงานนอกระบบ ทุกคนได้รับสวัสดิการอย่าง เท่าเทียม แต่มีข้อสังเกตว่า ระบบสวัสดิการของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จะถูกบริหารโดยรัฐบาล ส่วนกลางเท่านั้น ไม่ได้มีการกระจายอำนาจไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในประเทศ สำหรับการว่างงานของประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมาย Labour Standard Act (Japan) และ Act on Improvement of Employment Management for Part-time Worker พบว่าพยายาม กระตุ้นให้กลุ่มผู้ประกอบการส่งเสริมให้นำแรงงานนอกระบบเข้าสู่แรงงานในระบบ ส่งเสริมและ สนับสนุนให้เกิดการว่าจ้างงานที่เป็นธรรมและเกิดความมั่นคงต่อแรงงานทั้งในด้านสภาพการทำงาน และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวด้วย เห็นได้ว่าการที่สวัสดิการของผู้ที่ทำงานบางเวลา ครอบคลุมไปถึงบุคคลในครอบครัวซึ่งรวมไปถึงการดูแลบุตร จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้กับ แรงงานอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีความช่วยเหลือสาธารณะ ที่คอยสนับสนุนเกี่ยวกับค่าครองชีพ ขั้นพื้นฐาน ค่าที่พัก ค่าเล่าเรียน ค่าฝึกอบรม ประกันสุขภาพ และงานศพ ให้กับแรงงาน ส่วนประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด จึงมุ่งพัฒนาศักยภาพของ แรงงานและการดูแลแรงงานไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ตามกฎหมาย The Employment Act (Act 17 of 1968) โดยแรงงานทุกประเภทของประเทศสิงคโปร์จะได้รับสวัสดิการที่เท่าเทียมกัน แต่จะแตก กันในด้านของปริมาณที่จะได้รับ ตามเงื่อนไขของ Central Provident Fund (CPF) โดยรัฐ กำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพต้องเข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยมีวัตถุประสงค์การช่วยเหลือ เรื่องที่พักอาศัย การรักษาพยาบาลหลังเกษียณ แต่จะไม่มีกรณีว่างงาน อย่างไรก็ตาม ประเทศ สิงคโปร์ไม่ได้นำเงินที่ผู้ประกันตนต้องชำระมารวมกันแล้วจ่ายประโยชน์ทดแทน แต่เป็นการประกัน แบบให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกว่าจะนำเงินไปอยู่ในผลตอบแทนประเภทใดในอัตราส่วนตามที่ภาครัฐ กำหนด แล้วจ่ายผลตามแทนเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะมีโอกาส ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ Workfare Income Supplement Scheme (WIS) โดยเป็นการ ช่วยเหลือในรูปแบบของเงินสด ซึ่งในประเทศไทย ไม่สามารถนำแนวปฏิบัติของประเทศสิงคโปร์มา ใช้ได้เนื่องจากความต่างของขนาดพื้นที่ จำนวนประชากร และรายได้เฉลี่ยต่อคนที่มีความแตกต่างกับ ประเทศสิงคโปร์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3