การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

77 จากปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย เกี่ยวกับการ ว่างและสงเคราะห์บุตร เป็นสิ่งสำคัญที่รัฐจำเป็นต้องเพิ่มทักษะแรงงานและการใช้นโยบายแร งงานที่ สนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน เสริมสร้างรายได้ให้สูงขึ้น และการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ มี ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยภาครัฐต้องพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริมศักยภาพพื้นฐานของแรงงานให้มี ความสามารถที่จะสร้างค่าตอบแทนขั้นต่ำที่เพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรมเพื่อสวัสดิการที่จะได้รับ ตามนโยบายภาครัฐ เช่น ประชากรสามารถจ่ายภาษีในอัตราที่สูง เพี่อให้ภาครัฐบริหารจัดการเงิน ดังกล่าวและได้รับผลประโยชน์กลับคืนในอนาคต อาทิ เงินวัยเกษียณ เป็นต้น โดยศักยภาพ ขั้นพื้นฐานมาจากการได้รับการการศึกษา การฝึกอบรมอาชีพที่เพียงพอให้แรงงานสามารถนำ ไป ทำงานและสามารถพัฒนาฝีมือให้เกิดคุณค่ามากขึ้นได้ จนนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตให้มีความอยู่ดี กินดี และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมั่นคง 4.2.2 บทบาทอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ แรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย ถือได้ว่าเป็นกลุ่มแรงงานที่มีขนาดใหญ่ เป็นวิถี ชีวิต ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เนื่องจากการคงอยู่ของแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบ เร่ แผงลอย ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็ว ในราคาที่ย่อมเยา ไม่ว่าจะเป็น ของใช้ส่วนตัว เสื้อผ้า อาหาร ของใช้ในบ้าน รวมถึงเครื่องประดับต่างๆ แต่กลับพบว่า แรงงานนอก ระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย ไม่มีสวัสดิการหรือมาตรการทางกฎหมายที่เข้ามารองรับการเป็นอยู่ของ พวกเขาเหล่านั้น มีเพียงสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นฐานจากหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ที่ครอบคลุมเพียงแค่การรักษาพยาบาล และการคลอดบุตร นอกเหนือจากสวัสดิการขั้นพื้นฐานจาก หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ยังมีสวัสดิการประกันสังคม มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นสิทธิสวัสดิการภาคสมัครใจ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ คือหน่วยงานหลัก ที่ทำหน้าที่ในการกำกับ ดูแล ตรวจสอบ ติดตาม และส่งเสริมการทำงาน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจ เกิดขึ้นจากการใช้แรงงาน ตลอดจนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการทำงาน ปัญหาและอุปสรรค ของกลุ่มแรงงานนอกระบบ โดยในการกำกับดูแลของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะได้รับการ สนับสนุนข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงาน พัฒนาชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งความเป็นจริงแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นหน่วยงานที่ทราบถึงปัญหาข้อเท็จจริงของแรงงานนอกระบบในพื้นที่มากกว่าหน่วยงานที่เป็น ผู้ดูแลโดยตรงแต่กลับไม่สามารถเข้าไปดูแลส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับอำนาจหน้าที่ดังกล่าวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3