การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

78 อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัญหาหลักของแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย คือ มีฐานะ ยากจน และมีระดับการศึกษาเพียงแค่ภาคบังคับตามที่รัฐจัดให้ แม้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 จะเป็นการออกมาตรการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานนอกระบบเพื่อให้มีสิทธิสวัสดิการ ทางสังคม มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่พวกเขาเหล่านั้น ส่วนใหญ่แล้วกลับไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ ดังกล่าว รวมถึงไม่เข้าใจในเจตนาที่ประกันสังคมมอบให้ กลับมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว การติดต่อ หน่วยงานราชการมีความยุ่งยาก และใช้เวลานาน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ผู้วิจัยได้รับจาก หน่วยงานทางภาครัฐ โดยหน่วยงานภาครัฐ หลายฝ่ายยอมรับว่าปัญหาการติดต่อหน่วยงานราชการ นั้นมีกระบวนการที่ซับซ้อน มีลำดับขั้นของการสั่งการและดำเนินการ ไม่สามารถดำเนินการจนจบ กระบวนการได้ในที่เดียว แม้จะบูรณาการให้เป็นรูปแบบของ One Stop Service แล้วก็ตาม แต่ทาง หน่วยงานภาครัฐเองก็ไม่ได้เพิกเฉยต่อกระบวนการที่ล่าช้าดังกล่าว มีการกำหนดมาตรฐานการบริการ ระยะเวลาดำเนินการ เพื่อสามารถที่จะให้คำตอบกับผู้รับบริการได้ว่ากรณีใดต้องใช้เวลาการ ดำเนินการกี่วัน อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ให้เหตุผลว่า การติดต่อ การดำเนินการ บริการ ได้พยายามเพิ่มช่องทางเพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ส่วนการประชาสัมพันธ์ใน เรื่องการเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ แต่ทั้งนี้ ทางผู้วิจัยเห็นว่า การกระทำของหน่วยงาน ภาครัฐอาจยังไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย และไม่ตรงกับสิ่งที่แรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย ต้องการ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มแรงงานนอกระบบ เป็นไปตามการตั้ง ข้อสังเกตของผู้วิจัย คือประเด็นเรื่องค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับเพื่อบรรเทาปัญหาความยากจนที่กำลัง ประสบอยู่ ความสม่ำเสมอของรายได้เพื่อสามารถวางแผนการใช้เงินให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่าง ปกติและสวัสดิการที่ทัดเทียมเช่นเดียวกับแรงงานในระบบตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างแรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบ 4.2.3 กรอบกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการทางสังคมของประเทศไทย จากการศึกษา กรอบกฎหมายเกี่ยวข้องกับสวัสดิการทางสังคมของประเทศไทย ที่ถูกรองรับสิทธิขั้นพื้นฐานไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แสดงให้เห็น ว่าภาครัฐมุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่ประชนชนภายในประเทศอย่างเท่าเทียมตามหลักความเสมอ ภาค ซึ่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้สำหรับการเข้าเป็น ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 แล้ว โดยจะมีสิทธิสวัสดิการที่ได้รับเมื่อปฏิบัติ ตามเงื่อนไขที่ทางภาครัฐกำหนด ซึ่งยังพบถึงความเหลื่อมล้ำในแต่ละประเภท

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3