การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

79 ประเทศไทยมีกฎหมายจำนวนมากที่ถูกตราขึ้นเพื่อรองรับแรงงานในระบบ อาทิ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่มีวัตถุประสงค์ให้แรงงานซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้รับการดูแล มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนการสนับสนุนเพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้ในวัยชรา พระราชบัญญัติเงิน ทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลเงินทดแทนให้กับลูกจ้าง ซึ่งได้รับอัตราย เจ็บป่วย อันเนื่องมาจากการทำงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่สำหรับแรงงาน นอกระบบ กลับไม่มีกฎหมายออกมารองรับโดยตรง อย่างไรก็ตาม ภาครัฐยังให้ทางเลือกกับแรงงาน นอกระบบ โดยสามารถเลือกเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยให้ทางเลือกการชำระเงินเข้าเป็นผู้ประกันตน 3 ทางเลือก ซึ่งแต่ละทางเลือกจะมีความ แตกต่างกันในเรื่องของสวัสดิการที่ได้รับ ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมตาม มาตราต่างๆ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของกลุ่มแรงงานนอกระบบ ซึ่งในกลุ่มผู้ประกอบ อาชีพหาบเร่ แผงลอย เป็นกลุ่มที่มีลักษณะการประกอบอาชีพแบบหาเช้ากินค่ำ มีปัญหาในเรื่องของ การเงิน สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรา 40 จึงไม่สามารถสร้างแรงจูงใจได้เพียงพอ ซึ่งเห็นได้ชัดคือ สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน และกรณีสงเคราะห์บุตร กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มุ่งประสงค์จะสร้างความอยู่ดีกินดีให้กับ ประชาชนในยามชรา โดยจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้ในยามเกษียณ อย่างไรก็ตาม กองทุนการออม แห่งชาติ มีหลักเกณฑ์ของผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกได้ คือ ผู้นั้นต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 ทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ภาครัฐจ่ายเงินสมทบซ้ำซ้อน จึงอาจกล่าวได้ว่าแรงงานนอกระบบสามารถเลือก สิทธิสวัสดิการได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และกองทุนการออมแห่งชาติพร้อมกันได้ แสดงให้เห็น ว่าสวัสดิการของสังคมไทย ไม่ได้มุ่งที่จะคุ้มครองให้ทุกคนสามารถอยู่ดีกินดีได้อย่างเท่าเทียม โดยคน ได้รับความคุ้มครองมากที่สุดกลับไม่ใช่คนที่มีความเสี่ยงที่สุด อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงสิทธิสวัสดิการของแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง การเข้าถึงสิทธิสวัสดิการทางสังคมเป็นไปอย่างจำกัด อันเนื่องมาจากเหตุผล หลายประการ อาทิ ความยุ่งยาก ความไม่เข้าใจในกระบวนการทำงานของหน่วยงานราชการ ปัญหา เรื่องรายได้ ระยะเวลาในการเข้าไปติดต่อประสานงาน เนื่องจากผู้ประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอยนั้น การหยุดประกอบอาชีพเพียง 1 วัน หมายถึงรายได้ที่หาเลี้ยงตนเองและครอบครัวจะหายไปเช่นกัน นอกจากนี้ สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน มาตรา 40 ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ยังขาดความจูงใจทำแรงงานนอกระบบกลุ่มหาบเร่ แผงลอย คิดว่าผลประโยชน์ที่ได้รับไม่สอดคล้อง กับสิ่งที่จ่ายไป นอกจากข้อจำกัดดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อจำกัดของหน่วยงานภาครัฐ เช่น การไม่มี ฐานข้อมูลของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอย ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3