การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
80 แสดงให้เห็นว่า หน่วยงานภาครัฐ ต้องพัฒนารูปแบบการเก็บข้อมูลของแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย โดยการนำเทคโนโลยีมาร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์อย่างสูงสุดและดูแลได้อย่างตรงประเด็นทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยกระจายอำนาจไปยังองค์การ ปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีความใกล้ชิดกับประชาชนและทำงานแบบบูรณาการร่วมกับชุมชน จะทำให้ สามารถเข้าถึงปัญหาที่แท้จริงและสามารถช่วยเหลือ ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงาน นอกระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาให้แรงงานนอกระบบมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สิ่งสำคัญ คือการพัฒนาคน ซึ่งควรเริ่มจากการพัฒนาด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยมีหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลควบคู่กับการสร้างความคุ้มครองทางสังคมของแรงงานนอกระบบ เพื่อให้กลุ่ม แรงงานได้รับความเสมอภาค พร้อมทั้งปรับให้สอดคล้องต่อความต้องการของแต่ละกลุ่มอาชีพโดย ลดความเหลื่อมล้ำให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม แรงงานนอกระบบเป็นแรงงานที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับแรงงานในระบบ มีเพียงกฎหมายที่กล่าวถึงแบบภาพรวมเท่านั้น เช่น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่เป็นการกำหนดนโยบายแนวทางการดำเนินการของรัฐ พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ที่ส่งเสริมให้กับแรงงานนอกระบบสามารถออม เงินให้มีใช้ในยามชรา พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 40 ซึ่งเป็นการเปิดช่องให้กับ แรงงานนนอกระบบเข้าเป็นผู้ประกันตน และ กฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด พ.ศ. 2551 ที่ กำหนดเพียงลักษณะทางกายภาพอย่างกว้าง เช่น ระบบระบายอากาศ แสงสว่าง ระบบป้องกัน อัคคีภัย ระบบบำบัดน้ำเสีย ทางระบายน้ำ การจัดกลุ่มการจำหน่ายสินค้า ลักษณะแผงสินค้า การจัด ให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือ ระยะเวลาเปิดปิด การทำความสะอาด และการบำรุงรักษาพื้นที่ เพื่อ สุขอนามัยของประชาชนเท่านั้น แต่ไม่มีการกำหนดถึงลักษณะของการส่งเสริมการประกอบอาชีพ การช่วยเหลือด้านต่างๆ ให้กับผู้ประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอย ดังนั้น แรงงานนอกระบบ จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับความคุ้มครอง ส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิต ที่ดี ให้สอดคล้องตามหลักสากลอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานอันพึงปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอย่างเสมอ ภาคโดยไม่มีความแตกต่าง โดยมาตรการทางกฎหมายนั้น แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีบทบัญญัติของ กฎหมายที่ออกมาคุ้มครองแรงงานนอกระบบไว้อย่างชัดเจน ทำให้แรงงานนอกระบบซึ่งเป็นกลุ่ม แรงงานหลักไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานหรือการประกอบอาชีพ ความปลอดภัยใน การทำงาน หลักประกันทางสังคม การสงเคราะห์บุตร มาตรฐานรายได้ ตลอดจนการรวมกลุ่ม รวมตัว จัดตั้งองค์กรณ์เพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้เกิดความเป็นธรรม ให้แรงงานนอกระบบได้รับการส่งเสริม และพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้มีร่าง “พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาแรงงานนอกระบบ แห่งชาติ พ.ศ. ....” โดยสาระสำคัญที่เกี่ยวกับแรงงานนอกระบบ มีอยู่ 7 ด้าน ได้แก่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3