การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล การวิจัยเรื่องการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ : หาบเร่ แผงลอย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอยและอำนาจหน้าที่ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยศึกษารูปแบบของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างการเข้าถึงสิทธิขั้น พื้นฐาน พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ โดยขอบเขตการศึกษาด้าน เนื้อหาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎี และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบ รวมทั้งรายงานการทำวิจัย ตำรา บทความทั้งของไทยและต่างประเทศ จากการศึกษาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย พบว่า การ เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของรงงานนอกระบบมีข้อจำกัดด้านกฎหมาย และบริบทของแรงงานนอกระบบ บางกรณีทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานได้ นอกจากนั้น พบว่าองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้วางมาตรฐานขั้นต่ำของการประกันสังคมไว้ตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 102 ว่าด้วยการประกันสังคม (มาตรฐานขั้นต่ำ) ค.ศ. 1952 แต่ประเทศไทยยังไม่มีการให้ สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม พบว่าประเทศไทย ได้มีการ “ร่างพะราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาแรงงานนนอกระบบแห่งชาติ พ.ศ. ….” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงาน นอกระบบ โดยมีการกระจายอำนาจไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่มีกฎหมายให้อำนาจหน้าที่ในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งสามารถอภิปรายผลการวิจัยได้ในหัวข้อ ต่อไป 5.2 อภิปรายผล ปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ หาบเร่ แผงลอย จากการไม่ได้รับรอง สิทธิขั้นพื้นฐานและได้รับสวัสดิการสังคม หลักประกันทางสังคม และความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่ง แรงงานนอกระบบ มีสิทธิสวัสดิการเพียงกรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร ซึ่งเป็นสิทธิตามหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ดังนั้น เพื่อให้แรงงานนอกระบบในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ ได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทางผู้วิจัยจึงได้ศึกษาและวิเคราะห์ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการทางสังคมของแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย สามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3