การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

86 1) ประเด็นสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ : หาบเร่ แผงลอย จากการศึกษาพบว่า สิทธิขั้นพื้นฐานของประกันสังคมของประเทศไทย ซึ่งบังคับใช้โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นแรงงานหรือไม่ก็ตาม ประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รับอย่างเท่าเทียมตามหลักรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่กำหนดไว้มาตรา 4 ว่าสิทธิและความเสมอภาค ต้องได้รับ ความคุ้มครอง และมาตรา 27 สิทธิและเสรีภาพของบุคคลต้องได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน ได้แก่ สิทธิจากหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) คือการได้รับการรักษาพยาบาล การคลอด บุตร และสิทธิจากเบี้ยยังชีพคนชรา ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่วางมาตรฐานขั้นต่ำของประกันสังคมเอาไว้ โดยประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันจะต้องให้ความ คุ้มครองอย่างน้อย 4 ประเภท จากการดูแลรักษาทางการแพทย์ ผลประโยชน์การเจ็บป่วย ผลประโยชน์การว่างงาน ผลประโยชน์ในวัยชรา ผลประโยชน์การบาดเจ็บจากการจ้างงาน ผลประโยชน์ของครอบครัว ผลประโยชน์การคลอดบุตร ผลประโยชน์กรณีทุพลภาพ และการ สงเคราะห์บุตรหรือผลประโยชน์แก่ทายาท ประเทศไทย ในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) แต่กลับไม่ได้มี การให้สัตยาบันในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 102 ว่าด้วยการประกันสังคม (มาตรฐานขั้นต่ำ) ค.ศ. 1952 โดยเมื่อลองเปรียบเทียบสวัสดิการสังคมที่ประเทศไทยมีให้แรงงานนอก ระบบกับมาตรฐานขั้นต่ำการประกันสังคมขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO) พบว่า สวัสดิการสังคมที่รองรับแรงงานนอกระบบยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำ คือ ประโยชน์จากการ รักษาพยาบาล ในประเทศไทยเทียบได้กับสวัสดิการจากหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ที่ครอบคลุม การรักษาพยาบาล การคลอดบุตร ส่วนความคุ้มครองจากประโยชน์ทดแทน ในประเทศ ไทยเทียบได้กับเบี้ยยังชีพคนชรา เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่นานาประเทศให้ การยอมรับ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาควรให้สัตยาบันในอนุสัญญาองค์การ แรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 102 ว่าด้วยการประกันสังคม (มาตรฐานขั้นต่ำ) ค.ศ. 1952 และ พัฒนาให้สูงกว่ามาตรฐานขั้นต่ำ เพื่อให้ประชากรกลุ่มแรงงานนอกระบบมีความพร้อมที่จะสามารถ ก้าวตามการพัฒนาประเทศ และมีคุณภาพชีวิตที่มั่นคง สวัสดิการทางสังคมของแรงงานในระบบ และแรงงานนอกระบบ พบว่า แรงงานที่เป็น ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 หรือที่เรียกว่าแรงงานใน ระบบ จะชำระเบี้ยประกันสังคมในอัตราร้อยละ 5 ของฐานเงินเดือน (กรณีฐานเงินเดือนเกินกว่า 15,000 บาท ให้คำนวณสูงสุดที่ 15,000 บาท) ดังนั้น อัตราขั้นสูงสุดที่ผู้ประกันตนต้องชำระ คือเดือน ละ 750 บาท และนายจ้างจ่ายสมทบอีกเดือนละ 750 บาท รวมเป็น 1 ,500 บาท จะได้รับสิทธิ สวัสดิการ 7 อย่าง ได้แก่ สิทธิกรณีเจ็บป่วย สิทธิกรณีคลอดบุตร สิทธิกรณีทุพลภาพ สิทธิกรณี เสียชีวิต สิทธิกรณีชราภาพ สิทธิกรณีว่างงาน และ สิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร ส่วนแรงงานอิสระ หรือที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3