การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
87 เรียกว่าแรงงานนอกระบบ จะมีประกันสังคมภาคสมัครใจ คือประกันสังคมมาตรา 40 แห่ง พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และหากไม่ได้สมัครใจเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ก็ ยังคงได้รับสิทธิจากหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) และเบี้ยยังชีพคนชรา แสดงให้เห็นว่า แม้ แรงงานนอกระบบจะสมัครใจเข้าเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 40 ก็จะยังมีความเหลื่อมล้ำ คือ เฉพาะ ผู้ประกันตน มาตรา 40 ประเภททางเลือกที่ 3 เท่านั้น จะมีสวัสดิการสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน แต่ยังคงขาดสิทธิสวัสดิการด้านการว่างงาน ส่วนประเภททางเลือกที่ 1 และ ทางเลือกที่ 2 ยังคงขาดสิทธิสวัสดิการด้านการว่างงานและการสงเคราะห์บุตร ดังนั้น ภาครัฐจึงควร จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะที่จะมาดูแลกลุ่มแรงงานนอกระบบ เพื่อสามารถส่งเสริมและพัฒนาให้บุคคล เหล่านี้สามารถดูแลตนเองและพัฒนาชีวิตให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคง 2) กฎหมายของการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานนอกระบบ ประชากรแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย มีปัญหาเรื่องการความยากจน การศึกษา ต่ำที่ได้รับการศึกษาเพียงขั้นพื้นฐาน ทางเลือกในการประกอบอาชีพมีไม่มากนัก จึงขาดโอกาสในการ เข้าถึงอาชีพที่สามารถสร้างรายได้สูง รวมถึงการพัฒนาฝีมือเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ตนเอง ทำให้เกิดปัญหา ความยากจนซ้ำซาก ดังนั้น สวัสดิการขั้นพื้นฐานของแรงงานนนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย ที่หน่วยงานภาครัฐมอบให้ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) จึงถือได้ว่าไม่เพียงพอต่อการ ดำรงชีพในสังคม แม้หน่วยงานภาครัฐจะเปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบสามารถเข้าถึงสวัสดิการทาง สังคม ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ก็ตาม จากประเด็นปัญหาดังกล่าวพบว่า ปัญหาความยากจน และการศึกษา ของแรงงานนอกระบบ ทำให้ขาดโอกาส คือ ปัญหาความยากจนทำให้แรงงานนอกระบบเกิดข้อจำกัดในการส่งเสียบุตรหลาน ให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ทำให้เด็กเหล่านี้ได้รับการศึกษาเพียงภาคบังคับ เมื่อจบเพียง การศึกษาภาคบังคับจึงทำให้ไม่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากนัก ขาดความรู้ในการต่อรอง เรียกร้องสิทธิต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาความยากจนซ้ำซาก ประกอบการติดต่อหน่วยงานภาครัฐใน มุมมองของแรงงานนอกระบบ กลุ่มหาบเร่ แผงลอย ถือเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยาก มีระบบที่ซับซ้อน ทำให้เสียเวลาในการประกอบอาชีพ ปัญหาดังกล่าวถือเป็นเรื่องสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐจะต้อง ปรับเปลี่ยนทัศนคติของแรงงานนอกระบบให้เข้าใจกระบวนการการทำงานของหน่วยงานภาครัฐที่ เปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อให้แรงงานนอกระบบสามารถเข้าถึงหน่วยงานภาครัฐได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ด้วยวิธีการกระจายอำนาจไปยังหน่วยงานท้องถิ่นโดยทำงานร่วมกับชุมชนและบู รณาการเพื่อ แก้ปัญหา ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบให้สามารถเข้าใจกระบวนการ ทำงานของหน่วยงานภาครัฐ และเข้าถึงสิทธิสวัสดิการขึ้นพื้นฐานที่ควรได้รับอย่างเสมอภาค ตาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3