การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
87 การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนลงลายมือชื่อกำกับไว้ โดยให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบกระทำ ในโอกาสแรกที่เริ่มคดี กรณีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าข้อมูลอาจมีความคลาดเคลื่อน ให้พนักงาน สอบสวนทำการสอบสวนบิดามารดาหรือญาติพี่น้องของผู้ต้องหา เพื่อยืนยันถึงอายุของผู้ต้องหา 6. ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยหรือกรณีที่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไม่สามารถนำ เอกสารบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้ ซึ่งมีภาพถ่ายผู้ถือบัตรมา แสดงได้ ก็ให้สอบถามข้อมูลประวัติของบุคคลนั้นโดยละเอียด พร้อมกับทำการตรวจสอบไปยัง หน่วยงานของทางราชการที่มีฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ เช่น ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต หากมี ความจำเป็นก็ให้นำตัวบุคคลนั้นไปตรวจสอบด้วย เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถูกจับกุมหรือผู้ต้องหาแอบอ้างใช้ ชื่อและนามสกุลของบุคคลอื่นในการดำเนินคดี จนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายจากการ ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจและพนักงานสอบสวน 7. การสอบสวนปากคำผู้เสียหายหรือพยานซึ่งมีอายุไม่เกินสิบแปดปี ในคดี ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันมิใช่ความผิดที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ ความผิดฐานกรรโชก ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ ความผิดตามกฎหมายว่า ด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกัน และปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ หรือคดีความผิดอื่นที่ มีอัตราโทษจำคุกซึ่งผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีร้องขอ การถามปากคำ ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ โดยแยกทำการ สอบสวนให้เป็นส่วนสัด ในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคม สงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำเด็กนั้น และในกรณี ที่นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ เห็นว่าการถามปากคำเด็กคนใดหรือคำถามใดอาจจะมีผล กระทบกระเทือนต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรง ให้พนักงานสอบสวนถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคม สงเคราะห์เป็นการเฉพาะตามประเด็นคำถามของพนักงานสอบสวน โดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของ พนักงานสอบสวนและห้ามมิให้ถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้ง โดยไม่มีเหตุอันสมควรให้เป็นหน้าที่ของ พนักงานสอบสวนที่จะต้องแจ้งให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอ และ พนักงานอัยการทราบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กทราบถึงสิทธิดังต่อไปนี้ (1) สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนในสถานที่อันเป็นสัดส่วน และเหมาะสม (2) สิทธิในการให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงาน อัยการ ร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำ (3) สิทธิในการตอบคำถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ กรณีที่นักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์เห็นว่าการถามคำถามโดยตรงหรือการถามคำถามบางคำถามอาจมีผล กระทบกระเทือนต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรง (4) สิทธิที่จะไม่ตอบคำถามที่ซ้ำซ้อนกันหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันควร 8. เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหาพนักงานสอบสวนเอง หรือ ปรากฎว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล สัญชาติ บิดามารดา อายุอาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด กรณีที่มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3