การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
88 ตามข้อหานั้นให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหา ได้กระทำ ความผิด แล้วบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาไว้ในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา(แบบ ส 56 - 5) และ ต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ กรณีที่ไม่มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามข้อหานั้น ให้พนักงานสอบสวนระบุการกระทำตามที่ผู้กล่าวหาได้กล่าวหาเท่านั้น โดยไม่ต้องแจ้งข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิดและฐานความผิดให้ผู้ต้องหาทราบแต่อย่างใด แต่ถ้ามีหลักฐานเพิ่มเติมในภายหลังว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามข้อหานั้น พนักงานสอบสวนจึง จะแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดและฐานความผิดให้ ผู้ต้องหาทราบเพิ่มเติมรวมทั้งต้องให้โอกาสผู้ต้องหา ที่จะแก้ข้อหาและแสดงข้อเท็จจริงอันเป็น ประโยชน์แก่ตนได้ เมื่อมีการแจ้งข้อหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหาไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่มีการออก หมายจับแต่พนักงานสอบสวนเห็นว่ามีเหตุที่ออกหมายขังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 71พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอให้ศาลออกหมายขังทันที ถ้า ขณะนั้นเป็นเวลาที่ศาลปิดทำการหรือใกล้จะปิดทำการ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งให้ผู้ต้องหาไป ศาลในโอกาสแรกที่เปิดทำการ ในการนี้ให้พนักงานสอบสวนลงรายงานบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี เพื่อเป็นหลักฐานโดยให้ปรากฎรายละเอียดเกี่ยวกับการแจ้งข้อหา หากขณะนั้นเป็นเวลาศาลปิดทำ การหรือใกล้จะปิดทำการก็ให้มีข้อความต่อท้ายดังนี้ "เนื่องจากขณะนี้เป็นเวลาที่ศาลปิดทำการหรือ ใกล้จะปิดทำการ พนักงานสอบสวนไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหาไปขอให้ศาลออกหมายขังได้ทัน จึงนัด หมายให้ นาย/นาง/นางสาว.ผู้ต้องหาในคดีอาญาที่. /คดีจราจรที่. ..ไปศาล. .เพื่อขอให้ศาลออกหมาย ขัง นาย/นาง/นางสาว. ..ในวันที่. .เวลา.นาย/นาง/นางสาว. ได้รับทราบคำสั่งของพนักงานสอบสวน แล้วยืนยันว่าจะไปศาลตามที่พนักงานสอบสวนสั่ง จึงให้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน " จากนั้นให้ ผู้ต้องหาลงลายมือชื่อรับทราบไว้เป็นหลักฐาน หากผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจซึ่งผู้ต้องหานั้นได้โดยให้ถือเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่จะจับผู้ต้องหาได้ โดยไม่มีหมายจับ และมีอำนาจปล่อยชั่วคราวหรือควบคุมตัวผู้ต้องหานั้นหากกรณีไม่ใช่เวลาศาลปิด หรือใกล้จะปิดทำการ เมื่อพนักงานสอบสวนให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อขอให้ศาลออกหมายขัง หาก ผู้ต้องหาไม่ปฏิบัติตามให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องหาดำเนินคดีตามข้อหาที่ได้แจ้งข้อหานั้น โดยถือว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่สามารถจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับและมีอำนาจปล่อยชั่วคราวได้ แต่กรณีดังกล่าวข้างต้นหากหนักงานสอบสวนเห็นว่า ไม่มีเหตุที่จะออก หมายขังผู้นั้นได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา *1 หลังจากแจ้งข้อหาให้ ผู้ต้องหาทราบแล้วพนักงานสอบสวนจะจับกุมและควบคุมผู้ต้องหาไม่ได้ การบันทึกเกี่ยวกับการแจ้ง ข้อหาในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี บันทึกพนักงานสอบสวน หรือเอกสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการ สอบสวนให้พนักงานสอบสวนบันทึกให้ปรากฏข้อความว่า "แจ้งข้อหาหรือฐานความผิดให้ผู้ต้องหา ทราบแล้ว จะได้สอบสวนต่อไปไม่มีการจับกุมและควบคุมผู้ต้องหาแต่อย่างใด " ห้ามมิให้บันทึกว่า "แจ้งข้อหาหรือฐานความผิดให้ผู้ต้องหาทราบแล้วปล่อยตัวไป " เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ามี การจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหานอกจากนั้นในกรณีนี้พนักงานสอบสวนไม่ต้องแจ้งสิทธิตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา7/1 เพราะผู้ต้องหาที่ถูกแจ้งข้อหาในกรณีนี้ ไม่ใช่ผู้ถูกจับหรือ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3