การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

90 ให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในที่นำชี้ และให้พึงระมัดระวังการใช้ถ้อยคำ หรือกิริยาท่าท างที่เห็นว่า เป็นการข่มขู่หรือการปฏิบัติการที่ไม่สมควรแก่ผู้ต้องหา ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ห้ามมิให้ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ไปขึ้นที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพเพราะจะเป็นการประจานเด็ก และอาจเป็นการกระทำผิดตาม กฎหมายเกี่ยวกับเด็ก รวมทั้งห้ามมิให้นำผู้ต้องหาไปขอขมาศพหรือบิดา มารดา สามี ภรรยา ญาติ มิตรสหายหรือผู้ปกครองของผู้ตาย นอกจากนี้ห้ามนำผู้เสียหาย พยาน เข้าร่วมในการนำชี้ที่เกิดเหตุ ประกอบคำรับสารภาพของผู้ต้องหาเป็นอันขาด โดยเฉพาะผู้เสียหายที่เป็นเด็ก สตรี พระภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช 11. การชี้ตัวผู้ต้องหา 11.1 ให้พนักงานสอบสวนหรือผู้บังคับบัญชา ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการชี้ ตัวพึงระลึกเสมอว่า การชี้ตัวผู้ต้องหาเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุก ฝ่ายโดยปราศจากอคติและการบังคับ จึงห้ามจัดให้มีการชี้ตัวโดยผู้ชี้ตัวไม่เต็มใจหรือไม่สมัครใจโดย เด็ดขาด 11.2 ในการจัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหาให้กระทำแต่เฉพาะวิธีชี้ตัวผู้ต้องหาโดย มีให้ผู้ต้องหาเห็นตัวผู้ชี้ตัว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้กล่าวหา และพยานผู้ทำการชี้ตัวผู้ต้องหา 11.3 กรณีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้เสียหายหรือพยาน ที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีชี้ตัวบุคคลใด ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการชี้ตัวบุคคลในสถานที่ที่ เหมาะสมสำหรับเด็กและสามารถข้องกันมิให้บุคคลซึ่งจะถูกชี้ตัวเห็นตัวเด็ก โดยให้มีนักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ พนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการชี้ตัวบุคคลนั้น เว้นแต่มีเหตุ จำเป็นไม่อาจหาหรือรอบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ และเด็กไม่ประสงค์จะให้มีหรือรอบุคคลตังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ให้พนักงานสอบสวนบันทึกเหตุดังกล่าวไว้ในบันทึกพนักงานสอบสวนด้วย ในกรณีการชี้ตัวผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีให้พนักงานสอบสวน จัดให้มีการชี้ตัวในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็กและสามารถป้องกันมิให้ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กนั้น เห็น ตัวบุคคลที่จะทำการชี้ตัว 12. การให้นายตำรวจขั้นผู้ใหญ่รับผิดชอบในการสอบสวน ให้ถือปฏิบัติตาม คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 12.1 การกำหนดประเภทและลักษณะของคดีให้ผู้บังคับบัญชาระดับ สารวัตรถึงระดับผู้บังคับการซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวน หรือรองผู้บังคับการที่ได้รับ มอบหมายมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการสอบสวน ดังนี้ (1) คดีที่ผู้บังคับบัญชาระดับสารวัตรต้องทำการสอบสวนด้วยตนเอง คือ ประเภทและ ลักษณะของคดีที่กำหนดให้พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการมีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบ (2) คดีที่ผู้บังคับบัญชาระดับสารวัตรใหญ่ต้องทำการสอบสวนด้วยตนเอง คือ ประเภทและ ลักษณะของคดีที่กำหนดให้พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษมีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบ (3) คดีที่ผู้บังคับบัญชาระดับผู้กำกับการต้องทำการสอบสวนด้วยตนเอง คือ ประเภทและ ลักษณะของคดีที่กำหนดให้พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิมีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3