การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
93 การทำสำนวนการสอบสวนและมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา ซึ่งเป็น คำสั่งประกอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ในประเด็นการจับกุม การสอบสวนนอกเหนือจากวิธีพิจารณา ความอาญาเช่นกัน ดังนั้นคงไม่เป็นการแปลกจนเกินไปหากมาตรา 11 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560 จะได้กำหนดสิทธิเพิ่มเติมใน กฎหมายฉบับนี้ให้คุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุให้ทันตามยุคสมัยกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างใน ประเด็นการกระทำความผิดของผู้สูงอายุนั้นเอง 2.11 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยศึกษาเรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็น ผู้สูงอายุในการดำเนินคดีอาญา ของนันทิดา ศิริธนานุกูลวงศ์ (2563) ได้กล่าวถึงประเด็นการคุ้มครอง สิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยสูงอายุกับการดำเนินคดีทางอาญา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า กฎหมายใน ต่างประเทศที่ได้ทำการศึกษานั้นไม่ได้กำหนดกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีทางอาญาเมื่อมีการ กระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็นผู้สูงอายุไว้โดยเฉพาะ แต่เนื่องจากผู้สูงอายุจัดอยู่ในกลุ่ม เปราะบางเป็นผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย ทางด้านจิตใจ ในต่างประเทศจึงนำกฎหมายที่ใช้กับ กลุ่มบุคคลที่มีลักษณะข้างต้นมาปรับใช้กับผู้สูงอายุด้วย ซึ่งประเด็นที่สำคัญในการนำกฎหมายมาปรับ ใช้กับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็นผู้สูงอายุ คือความสามารถในการต่อสู้คดี การ เบี่ยงเบนคดีอาญาออก จากกระแสหลัง การพิจารณาคดี รวมทั้งการพิจารณาและการกำหนดโทษและรวมไปถึงการลงโทษ อันถือเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหา งานวิจัยศึกษาเรื่อง การละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาในชั้นก่อนฟ้องคดี ของพจมานพจี ทวีสว่าง ผล (2563) ได้กล่าวถึงประเด็นการควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการ ซึ่งพบว่าระยะเวลาการส่งสำนวนของ พนักงานสอบสวนได้ทำการส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการมีเวลาที่น้อย เหลือเวลาไม่ มากที่จะทำให้การสอบสวนเพิ่มเติมโดยพนักงานอัยการกระทำไม่ได้เพราะไม่มีเวลา อันจะส่งผล กระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการดำเนินคดีต่อผู้ต้องหาทำให้พนักงานอัยการต้องเร่ง ตัดสินใจที่จะสั่งฟ้องคดีผู้ต้องหาไปตามพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนส่งมาให้ ซึ่งมีผลต่อคดี และ สิทธิเสรีภาพของประชาชน ผลการศึกษาพบว่าในการบังคับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญายังมีปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาในการฝากขังผู้ต้องหาควรมีการแก้ไขประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 87 รวมทั้งศาลจะต้องเข้ามามีบทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐในทุกขั้นตอน งานวิจัยศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤฒิพลังด้านการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุใน อำเภอโกรกพระจังหวัดนครสวรรค์ ของรัตนากาญจน์ เจริญศรีรุ่งเรือง (2563) ได้นำเสนอถึงระดับ พฤฒิพลัง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤฒิพลังด้านการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ในอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ทั้งเพศชาย และเพศหญิงที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤฒิพลังด้านการมีส่วนร่วมอยู่ใน ระดับปานกลาง ร้อยละ 53.8 อายุและปัจจัยทางเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤฒิพลังด้าน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3