การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

96 3.2 การวิจัยภาคสนาม (Field Research) การวิจัยภาคสนามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากการรับบริการของผู้ต้องหาหรือจำเลยสูงอายุในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ดังนั้น จึงต้องมี กระบวนวิธีการในการเก็บข้อมูล ซึ่งการศึกษานี้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth interviews) โดยมีเกณฑ์คัดเข้าคือการเจาะจงกลุ่มเป้าหมายดังระบุในหัวข้อที่ 3.2.2 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยมีเกณฑ์คัดออกคือหากผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว สามารถประสงค์ถอนตัวออกได้ตลอดเวลาหากต้องหรือไม่สะดวกเข้าร่วมการวิจัย ไม่ว่าเกิดจากกรณี ใด ๆ ก็ตาม 3.2.1 สัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่เกี่ยวกับ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ของผู้ต้องหาที่สูงอายุ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ตามประเด็นที่กำหนดไว้ ล่วงหน้า และดำเนินการสัมภาษณ์โดยตรงระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ 3.2.2 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ให้ข้อมูลในการเก็บรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ กลุ่มผู้แทนพนักงานสอบสวนสืบสวน กลุ่มประธานชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มสำนักงาน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด/ผู้บริหารกรมคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ/ผู้บริหารกรม กิจการผู้สูงอายุ/ผู้บริหารยุติธรรมจังหวัด และกลุ่มผู้บริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมจำนวน 10 คน ดังนี้ 1) ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ จำนวน 2 คน โดยจะมีหนังสือขอความอนุเคราะห์ซึ่งออกโดยมหาวิทยาลัยทักษิณไปยังสำนักงานศาล ฎีกาและสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้อนุญาตบุคลกรในหน่วยงานของท่านในการสัมภาษณ์ตามที่ท่าน เห็นควรหมอบหมายและสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยซึ่งแบ่งออกเป็น 1. ผู้พิพากษา 1 คน 2. พนักงาน อัยการ 1 คน โดยมีเกณฑ์คัดเข้าคือเจาะจงจากสำนักงานศาลฎีกาและสำนักงานอัยการสูงสุดใน ส่วนกลาง โดยเป็นผู้พิพากษาประจำศาลฎีกาเนื่องจากสามารถเห็นภาพของปัญหาในภาพรวมของ ประเทศได้เช่นกับอัยการที่ผู้วิจัยมีเกณฑ์คัดเข้าอัยการจากสำนักงานอัยการสูงสุดโดยมีเกณฑ์คัดออก คือหากผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวสามารถประสงค์ถอนตัวออกได้ตลอดเวลาหรือไม่สะดวก เข้าร่วมการวิจัย ไม่ว่าเกิดจากกรณีใด ๆ ก็ตาม 2) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด/ผู้บริหารกรมคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ/ผู้บริการกรมกิจการผู้สูงอายุ/ผู้บริหารยุติธรรมจังหวัด จำนวน 3 คน -สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด 1 คน -ผู้บริหารกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ/ผู้บริหารกรมกิจการผู้สูงอายุ 1 คน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3