การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทที่ 4 ผลการวิจัย ประเทศไทยมีระบบการพิจารณาคดีออกเป็นสองระบบ คือ ระบบศาลคู่และระบบศาลเดียว ซึ่งจะใช้แยกกันและแตกต่างกันออกไปตามประเภทศาลที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศและยังมีระบบการ พิจารณาคดีเป็นสองระบบตามประเทศศาลเช่นกัน กล่าวคือ ระบบกล่าวหาและระบบไต่ส่วนซึ่งงานที่ ผู้วิจัยได้ศึกษานั้นเป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาซึ่งอยู่ภายใต้ของศาลยุติธรรมซึ่งเป็นศาล ประเภทหนึ่งจากศาลทั้งหมดของประเทศโดยจะใช้ระบบการพิจารณาคดีเป็นระบบกล่าวหาเน้น พยานหลักฐานเข้ามาต่อสู้กันในคดีโดยเฉพาะคดีอาญาที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา โดยมีที่มาจากปัญหา การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรภายในประเทศก็คือปัญหาผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในปี พ.ศ.2565 จากรายงานของกรมกิจการผู้สูงอายุพบว่ามีประชากรร้อยละ 18 ของประชากร ทั้งหมดภายในประเทศคิดเป็น 12 ล้านกว่าคนเป็นผู้สูงอายุดังนั้นผู้วิจัยจึงตระหนักคิดว่าโดยสภาพ ร่างกายและความเสื่อมทางสมองของผู้สูงอายุนั้นอาจจะส่งผลให้บุคคลเหล่านี้เข้าสู่การกระทำ ความผิดก่ออาชญากรรมทั่วไปและอาชญากรรมออนไลน์ได้ก็เพราะเนื่องจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง พบว่าผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากที่ใช้สื่อออนไลน์นั้นเองจึงมองว่าหากจะต้องจับกุมหรือสอบสวนบุคคล เหล่านี้เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงที่ถูกต้องนั้นควรจะมีวิธีการที่เหมาะกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ นั้นเอง การศึกษาและวิจัยมีวัตถุประสงค์ ในการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบระบบการพิจารณาคดีใน กระบวนการยุติธรรมในชั้นก่อนฟ้องคดีอาญาสำหรับผู้ต้องหาที่สูงอายุ โดยจะพิจารณาศึกษาในส่วน ของชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนคดีซึ่งถือเป็นต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอันเป็นหัวใจ สำคัญที่จะส่งผลต่อไปในชั้นอื่นๆนั้นเอง ภายใต้กฎหมายพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 แก้ไข เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560 ประกอบกับคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 419/2556 เรื่อง การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวนและมาตรการ ควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญถึงระบบการ พิจารณาคดีในชั้นก่อนฟ้องคดีอาญาสำหรับผู้ต้องหาสูงอายุ และการจับกุม สอบสวนรวมไปถึงวิธีการ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในชั้นนี้ให้มีประสิทธิภาพเท่าเทียม และเหมาะสมกับผู้สูงวัย การวิเคราะห์ได้ใช้ ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยนำผลการวิเคราะห์ไปสู่การปรับปรุงแก้ไข และเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่มีความแตกต่างกันและผู้วิจัยคิดว่ายังเป็นช่องว่างสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้ ผู้ต้องหาสูงอายุเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่เหมาะสมกับอายุและช่วงวัยในฐานะบุคคลผู้หนึ่งที่เกิดมา พร้อมสิทธิ เสรีภาพแม้จะกระทำผิดไปก็ตาม เพื่อเป็นการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับระบบการพิจารณา คดีในชั้นก่อนฟ้องคดีอาญารวมไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุให้มีความครอบคลุมทั้งในด้าน สวัสดิการและด้านกระบวนการยุติธรรม ให้ได้รับคุ้มครองที่มีความเสมอภาคกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเข้าถึงบริการของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ซึ่งได้กำหนด ประเด็นในการวิเคราะห์ ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3